วันที่ 8 เดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันรำลึกถึงพระยูไล หรือไม่ใช่เพียงแค่บรรพบุรุษเท่านั้นที่ชาวจีนให้ความสำคัญ แต่อาหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อถึงเวลาต้องจัดงานเฉลิมฉลอง ชาวจีนจะมีการทำอาหารซึ่งเชื่อว่ามีความมงคลมาเป็นส่วนประกอบในพิธีต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “บะจ่าง” อาหารอันมีที่มาจากตำนานความรักชาติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามคติจีน
ตำนานความรักชาติ ที่มาของการไหว้บะจ่าง
เทศกาลไหว้บะจ่าง หรือ ตวงโหงวโจ่ย จัดขึ้นในช่วงวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เทศกาลนี้มีที่มาจากตำนาน “กวีผู้รักชาติ”
ชีหยวน กวีรักชาติผู้ซื่อสัตย์
ในยุคสมัยของเลียดก๊ก มีข้าราชการผู้หนึ่งนามว่า “ชีหยวน” เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการแต่งบทกวีและการบริหารบ้านเมือง ชีหยวนคอยเป็นที่ปรึกษางานราชกิจการบ้านการเมืองให้แก่กษัตริย์ นอกจากความรู้ที่มีแล้วชีหยวนยังเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และยึดมั่นในคุณธรรม
ทำให้เขาได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์เป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความริษยาต่อตัวของเขาในหมู่ขุนนางจึงทำให้ชีหยวนนั้นถูกกลั่นแกล้งในการทำงาน และความเชื่อใจของเขาที่กษัตริย์มีให้ก็ได้ถูกลดทอนลง เมื่อมีศัตรูเข้ามาบุกยึดเมืองทำให้กษัตริย์ไม่เชื่อคำพูดว่าของชีหยวนว่าห้ามทำศึก ไม่อย่างนั้นจะต้องเสียเมืองไป แต่กษัตริย์กลับไม่เชื่อคำพูดของชีหยวน สุดท้ายก็แพ้การศึกและเสียเมืองให้ศัตรู
ตามหาศพ ต้นกำเนิดบะจ่าง
ชีหยวนได้แต่งกวีบทหนึ่งพรรณาถึงความเศร้าโศกเสียใจที่บ้านเมืองตกไปเป็นของศัตรูเอาไว้ ก่อนจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ด้วยความผิดหวังในวันที่ 5 เดือน 5 เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องเข้าต่างก็รู้สึกอาลัยในตัวชีหยวนเป็นอย่างมาก จึงได้มีการพายเรือตามหาศพของชีหยวน เพื่อกู้ศพขึ้นมาประกอบพิธีศพให้ถูกต้อง
แต่ด้วยความที่ในน้ำบริเวณนั้นมีปลาและสัตว์น้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงกลัวว่าปลารวมถึงสัตว์น้ำเหล่านั้นอาจจะมาแทะกินศพของชีหยวนจนได้รับความเสียหาย จึงได้นำข้าวมาห่อด้วยใบไผ่แล้วโยนลงไปในน้ำเพื่อให้เป็นอาหารของสัตว์แทน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดเป็นเทศกาลการไหว้บะจ่าง อย่างที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้
2 ประเพณีสำคัญคู่กับวันไหว้บะจ่าง
การแข่งเรือมังกร
ประเพณีการแข่งเรือมังกร เป็นการละเล่นเพื่อบูชาเทพเจ้ามังกร ชาวจีนเชื่อว่ามังกรเป็นหนึ่งในเทพที่ช่วยให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและทำให้พวกเขามีน้ำท่าไว้ใช้สำหรับทำการเกษตรตลอดทั้งปี อีกทั้งการแข่งเรือมังกรนั้นก็ยังเป็นการสร้างความสมัครสามัคคีของคนในชุมชน
การแข่งเรือมังกรในประเทศจีนจะมีลักษณะคล้ายกันกับการแข่งพายเรือยาวในประเทศไทย ซึ่งจะต้องใช้ความพร้อมเพียงและการส่งสัญญาณให้จังหวะกับฝีพาย เพื่อให้พายเรือไปพร้อม ๆ กันด้วยความรวดเร็ว โดยมีผู้ชมคอยส่งเสียงเชียร์อยู่บริเวณรอบริมฝั่งแม่น้ำ
การขอพรเทพเจ้ามังกร
นอกจากการแข่งเรือมังกรแล้ว ยังมีการไปไหว้ขอพรเทพเจ้ามังกร เนื่องจากในช่วงเดือน 5 นี้ ที่ประเทศจีนจะเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนแล้ว เป็นช่วงที่พืชพันธ์ุอย่างเช่นข้าวสาลีจะได้รับการเก็บเกี่ยว จึงมีการไหว้เทพเจ้ามังกรเพื่อขอพรให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้จำนวนมาก และขอให้เกิดความราบรื่นในการทำเพาะปลูก
บะจ่าง ไม่ได้แค่แบบเดียว แต่มีมากกว่าที่คิด
บะจ่างแต้จิ๋ว
เป็นบะจ่างที่คนไทยคุ้นเคยกับรสชาติและเคยได้เห็นวางขายทั่วไปตามท้องตลาดมากที่สุด สำหรับบะจ่างแต้จิ๋วมีที่มาจากชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วที่อพยบเข้ามาอาศัยยังประเทศไทย โดยตัวไส้ของบะจ่างจะไม่ได้แยกไส้หวานหรือเค็ม แต่จะเป็นการใช้วัตถุดิบที่เอาไว้สำหรับทำเป็นของหวานและของคาวมารวมกันอยู่ในบะจ่างทั้งหมด
บะจ่างภูเก็ต
เป็นบะจ่างที่ไม่ได้พบเห็นกันทั่วไปไม่มากนักนอกเสียจากว่าจะลงไปหาทานที่จังหวัดภูเก็ต บะจ่างสูตรชาวภูเก็ตนี้จะเป็นบะจ่าง “สูตรฮกเกี้ยน” ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ การนำเอาหมูมาผัดรวมกันกับเครื่องพะโล้ให้เกิดกลิ่นหอมก่อนจะยัดไส้ลงในข้าวเหนียวแล้วนำไปนึ่ง ทำให้มีรสชาติที่ทั้งหวานและเค็มอย่างลงตัว
บะจ่างแยกไส้เค็ม-หวาน
เป็นบะจ่างที่จะมีการทำไส้เค็มและไส้หวานแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นการทำบะจ่างในรูปแบบของ ของคาวและของหวาน โดยไส้เค็มก็จะประกอบไปด้วยหมู กุนเชียง ไข่เค็ม เป็นต้น ส่วนไส้หวานนั้นหลัก ๆ แล้วก็จะเป็นเผือกกวนกับธัญพืชชนิดต่าง ๆ เช่น เม็ดบัว แปะก๊วย
กีจ่าง
เป็นบะจ่างสำหรับไหว้เจ้าแม่กวนอิม หรือ สำหรับคนที่ทานเจและมังสวิรัติ กีจ่างทำมาจากแป้ง ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ เมื่อนำไปนึงจนสุกแล้วจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลใส เนื้อนุ่มเด้งเหมือนกับขนม เวลาทานมักนำไปจิ้มซอสถั่วเหลือง บ้างก็จิ้มน้ำตาลเพื่อให้มีรสชาติ มักจะนิยมทานเป็นขนมหวานมากกว่าการทานเป็นอาหารคาว
น่ำเอี๊ยง เผยเคล็ดมงคล จัดโต๊ะขอพรเทศกาลไหว้บะจ่าง
การจัดโต๊ะสำหรับไหว้บะจ่าง จะแบ่งออก 3 ชุดด้วยกัน โดยเริ่มต้นจาก
- ไหว้เจ้าที่ตี่จู่เอี๊ยะ
- ไหว้เทพเจ้า
- ไหว้บรรพบุรุษ
ของที่ใช้ในการไหว้บะจ่าง
ในวันไหว้บะจ่างนี้ของไหว้ที่ใช้ในการไหว้ จะไม่ได้มีการแบ่งยิบย่อยเท่ากับการไหว้ในสารทอื่น ๆ โดยสามารถใช้ของไหว้ที่เหมือนกันได้ ดังนี้
- บะจ่าง หรือ กีจ่าง แนะนำให้ใช้เป็นเลขคู่เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล
- ธูป
- เทียนแดง 1 คู่
- ข้าวสวย
- ซาแซ (เป็ด ไก่ หมู)
- น้ำชา
- ผลไม้มงคล 3-5อย่าง
- กระดาษทอง (หงิ๋งเตี๋ย)
- กระทงบัวทอง
เมื่อจัดโต๊ะไหว้เสร็จแล้ว หลังจากนั้นให้อธิษฐานขอพรในด้านสุขภาพ หน้าที่การงาน และความสำเร็จตามที่ปรารถนา
อ่านเคล็ดลับการไหว้ขอพร เปิดพิกัดไหว้รับเฮง พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ด้านโหราศาสตร์จีน จาก น่ำเอี๊ยง ผู้ผลิตปฏิทินจีนและ ผู้เชี่ยวชาญด้านฤกษ์ยามได้ก่อนใครที่ เกร็ดความรู้จากน่ำเอี๊ยง