ไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิมปางต่าง ๆ พร้อมบทสวดบูชาเสริมความเมตตา

วันรำลึกพระโพธิสัตว์กวนอิม คือ วันที่ 19 เดือน 6 ตามปฏิทินจัทรคติจีน เป็นวันที่พระแม่กวนอิมบรรลุธรรมได้เป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ผ่อสัก (菩薩) ในสำเนียงแต้จิ๋ว หมายถึงผู้ตั้งจิตแน่วแน่ในการบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต

เจ้าแม่กวนอิม การผสมผสานของตำนานและความเชื่อ

ที่มาของเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิม หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ในทางพุทธศานานิยามหายาน ซึ่งเป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ที่มีต้นกำเนิดมาจากทางฝั่งประเทศอินเดีย ก่อนที่ประเทศจีนจะรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามา และมีการหลอมรวมเข้ากับตำนานความเชื่อดั้งเดิมของทางจีน จนเกิดเป็นตำนานพระโพธิสัตว์กวนอิม

ตำนานที่ก่อเกิดเป็นเจ้าแม่กวนอิม ในฝั่งประเทศจีน
ตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซาน ตำนานกำเนิดเจ้าแม่กวนอิมของประเทศจีน โดยตำนานเล่าว่า เจ้าหญิงเมี่ยวซาน เป็นพระราชธิดาองค์เล็กสุด ของพระเจ้าเมี่ยวจง กับ พระนางเซี่ยวหลิน เมื่อถึงวัยเจริญชันษาที่ต้องออกเรือนเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่ประสงค์จะอภิเษกกับผู้ใด เพราะนางนั้นเป็นพุทธมามะกะศรัทธาเลื่อมใสในหลักพระธรรมและตั้งใจแน่วแน่ที่จะอุทิศตนให้กับทางธรรม ทำให้พระเจ้าเมี่ยวจงไม่พอพระทัยในตัวของนาง และได้ส่งให้นางไปทำงานหนักในสำนักชีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซานก็ไ่ม่ได้รู้สึกโกรธเคืองพระบิดาแต่อย่างใด นางได้เจริญภาวนาบำเพ็ญเพียร ทำทานโปรดสัตว์นางได้บรรลุธรรมขั้นสูงกระทั่งตรัสรู้กลายเป็นพระโพธิสัตว์ในที่สุด
ความศรัทธานับถือบูชาในเจ้าแม่กวนอิม

ลัทธิบูชาเจ้าแม่กวนอิม
การบูชาเจ้าแม่กวนอิมนั้น มีความเชื่อมาจากทางฝั่งพระพุทธศาสนาในนิกายมหายาน องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือ เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสุดในทางมหายาน ในฐานะของพระโพธิสัตว์ที่มาโปรดสัตว์เพื่อให้บรรลุธรรมและไปเกิดในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นดินแดนของผู้บรรลุนิพานแล้วเท่านั้น ผู้ที่ได้ไปเกิดในดินแดนนี้จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกเป็นการละไว้ซึ่งวัฏจักรสังขาร

เมื่อบูชาเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เหตุใดจึงไม่กินเนื้อ
เจ้าแม่กวนอิม นับเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่มีความเมตตาปราณี หวังช่วยให้มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกพ้นจากความสุขเพื่อที่จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามวัฏจักรสังขารอีก เจ้าแม่กวนอิมจึงมีการบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่เสมอ ละเว้นซึ่งกิเลสตัณหาและการกินเนื้อสัตว์ นั่นจึงทำให้เป็นเหตุผลว่า เพราะเหตุใดผู้ที่เคารพนับถือเจ้าแม่กวนอิมส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมทานอาหารเจหรือมังสวิรัติที่ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์เลย

เจ้าแม่กวนอิมมีมากกว่า 1 ปาง

เจ้าแม่กวนอิมที่เราเห็นกันอยู่ในทุกวัน เป็นเพียงปางหนึ่งของท่านเพราะแท้จริงแล้วท่านมีมากกว่า 1 ปาง ซึ่งแต่ละปางก็จะมีเรื่องเล่าและตำนาน รวมถึงเรื่องที่นิยมขอพรแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เรื่องของโชคลาภไปจนกระทั่งเรื่องของการขอบุตร-ธิดา

1. เจ้าแม่กวนอิม ปางประทานพร
เป็นปางที่คนส่วนใหญ่มักจะพบเห็นได้บ่อยและเป็นปางที่มีการตั้งวางรูปเคารพเพื่อขอพรมากที่สุดปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์กวนอิม ปางประทานพรจะมีลักษณะที่โดดเด่นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิม จะอยู่ในท่ายืน บ้างก็ยืนบนพื้นบ้างก็ยืนบนดอกบัว มือขวายกขึ้นตั้งตรง มือซ้ายถือแจกันเทน้ำ เป็นการอำนวยพร ปางประทานพรเป็นบางที่เชื่อกันว่าช่วยขจัดปัดเป่าความช่วยร้ายและความเดือดร้อนทั้งหลายทั้งปวง

2. เจ้าแม่กวนอิม ปางพันกร
ปางพันกร หรือ เจ้าแม่กวนอิมพันมือ เป็นปางที่เน้นในเรื่องของความเมตตาที่ช่วยเหลือผู้คนจากการตกทุกข์ได้ยาก โดยเจ้าแม่กวนอิมจะอยู่ในท่านั่งเป็นส่วนใหญ่มีมือทั้งหมดรอบตัว1พันมือ แต่ละมือจะถือสิ่งของวิเศษต่าง ๆ เอาไว้สำหรับช่วยเหลือผู้ที่มาขอพร

3. เจ้าแม่กวนอิม ปางเหยียบมังกร
ปางเหยียบมังกร เชื่อว่าหมายถึง ความสำเร็จทั้งปวงจึงมักจะนิยมขอพรเกี่ยวกับหน้าที่การงานเป็นหลัก ปางเหยียบมังกรจะมีลักษณะของเจ้าแม่กวนอิมในอิริยาบทยืนอยู่บนหลังของพญามังกร ใบหน้าเปี่ยมด้วยความเมตตา นอกจากนั้นแล้วปางนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจบารมีสำหรับผู้ที่มีบริวารรายล้อมอยู่ด้วย

4. เจ้าแม่กวนอิม ปางประทานบุตร
สำหรับปางประทานบุตรจะมีลักษณะคล้ายกับปางประทานพร คือ เจ้าแม่กวนอิมประทับยืนบนดอกบัวแต่ในมือทั้งสองอุ้มเด็กทารกเอาไว้ แต่ก็มีบางที่ ที่ปั้นรูปจำลองของเจ้าแม่ให้อยู่ในท่าประทับนั่งบนดอกบัวและมือทั้งสองอุ้มเด็กทารกแนบกายเอาไว้ ใบหน้าเปี่ยมด้วยเมตตา นิยมกราบไหว้บูชาในหมู่ของผู้ที่ต้องการมีบุตร เพราะเชื่อว่าเจ้าแม่กวนอิมปางประทานบุตรจะประทานบุตรที่ดีมาให้แก่บิดามารดา

5. เจ้าแม่กวนอิมกับกิ้มท้งและเง็กนึ้ง
เจ้าแม่กวนอิมกับกิ้มท้งและเง็กนึ้ง บ้างก็เรียก เจ้าแม่กวนอิมกับลูกศิษย์ เป็นปางที่ไม่ค่อยนิยมหล่อรูปปั้นเท่าใดนัก ส่วนใหญ่แล้วจะพบเห็นได้ในลักษณะของรูปเขียนบนกำแพงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือตามที่อยู่อาศัยมากกว่า สำหรับเจ้าแม่กวนอิมกับกิ้มท้งและเง็กนึ้ง หรือ กุมารทองและกุมารีหยกนี้ เป็นปางแห่งโชคลาภ เพราะตามตำนานกิ้มท้ง(กุมารทอง)กับเง็กนึ้ง(กุมารีหยก) คือ เด็กน้อยผู้นำพาโชคลาภความร่ำรวยมาอวยพรแก่มนุษย์ กิจการห้างร้านหลายแห่งจึงนิยมติดภาพนี้เอาไว้เพื่อเรียกโชคลาภและความร่ำรวยมั่งคั่งให้เข้ามาในร้าน
บทสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม เสริมความเป็นสิริมงคล

ก่อนจะสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม ให้ตั้งจิตให้มั่น อธิษฐานขอพรตามความปรารถนา จากนั้นให้ตั้งนโม 3 จบก่อนแล้วจึงเริ่มต้นสวดบูชา

บทสวดบูชาสำเนียงแต้จิ๋ว สำหรับสวดสรรเสริญพระคุณ เพิ่มความเมตตาให้ตัวเองเวลาขอพร

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ้ง
นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก อ่านต่อได้ที่

บทสวดบูชาภาษาบาลี-สันษกฤต สำหรับสวดขอมหากรุณาธารณีสูตร หรือ การขอความกรุณาครั้งยิ่งใหญ่

นำโม รัตนา ตายายะ นะโม อาริยะ จานะ
สักการา เปลอ จานะ ยูฮารา จายา
ตะทากาคะยา อะรา ฮาเต ซำ ยา ซำ พุทธายะ
นะโม สวา ตะถาคะเตเป อะรา ฮาตะเป
ซำ ยา ซำ พุทเธเป
นะโม อะริยะ อวโลกิเต สวารายา
พูทีสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหาการุณีตะยะ
ตะติยา ทา โอม ธารา ธารา ธีรี ธีรี ธูรู ธูรู
อิทธิเว อิทธิ จาเร จาเร ปูราจาเร ปูราจาเร
กุสุเม กุสุมา วาเร อิทธิ มิตรี จิตติ
จาลามะ ปานะ ยะ โชวฮา

บทสวดภาวนาแบบสั้น
สำหรับสวดภาวนาในใจ สามารถสวดได้เรื่อย ๆ เพื่อบูชาเจ้าแม่กวนอิม “โอม มา ณี แปะ หมี่ ฮง”


นอกจากปางต่าง ๆ ของเจ้าแม่กวนอิมที่ได้นำมาแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการขอพรในแต่ละเรื่องให้สมหวังแล้ว ยังมีสถานที่สำหรับไหว้ขอพรอื่น ๆ อีกเช่นกัน ที่น่ำเอี๊ยงได้มีการนำมาให้ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายได้ไปไหว้สักการะบูชาเพื่อขอพรความเป็นสิริมงคล ไม่ว่าจะเป็น 3 สถานที่ไหว้ขอพรพระยูไล รวมไปถึงบทความที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมสำคัญในวันสำคัญต่าง ๆ ของจีนที่สามารถเข้าไปอ่านได้ที่โหราศาสตร์น่ำเอี๊ยง

บทความล่าสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top