Author name: Natchaya Thepthaweepitak

ฤกษ์ยามงามดี คืออะไร

ฤกษ์ยามงามดี คืออะไร ราอาจเคยได้ยินคำว่า “ฤกษ์ดี” “ฤกษ์มงคล” “ฤกษ์ยามงามดี” มาบ้างแล้ว เมื่อต้องการแต่งงาน เปิดกิจการ ขึ้นบ้านใหม่ หรือซื้อรถก็ต้องไปดูฤกษ์ดีก่อนเสมอเพื่อให้เกิดความสิริมงคลในชีวิต ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีตั้งแต่ก้าวแรก แล้ว “ฤกษ์ยามงามดี” ที่ว่านี้คืออะไร น่าเชื่อถือหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ ฤกษ์งามยามดีคืออะไร?คำว่า “ฤกษ์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามไว้ว่า “คราว หรือเวลาที่กำหนดซึ่งคาดว่าจะให้ผล เช่น ฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล มักนิยมใช้ในทางที่ดี เช่น หาฤกษ์แต่งงาน หาฤกษ์คลอดบุตร” ฤกษ์งามยามดีมาจากไหน?“ฤกษ์งามยามดี” มาจากการคำนวณทางโหราศาสตร์หลากหลายแขนงของแต่ละพื้นที่ โดยสำนักโหราศาสตร์น่ำเอี๊ยง ใช้การคำนวณทางโหราศาสตร์จีน โดยการนำ วัน เดือน ปี และเวลาเกิด มาทำการขึ้นดวงแผนภูมิสวรรค์ หรือที่เรียกว่า โป๊ยหยี่สี่เถียว (八字四住) จากนั้นเลือกสรรฤกษ์งามยามดีอย่างพิถีพิถันในกรอบของช่วงเวลาที่ต้องการทำพิธี โดยเลือกวันที่มีดวงดาวมงคลเคลื่อนตัวมาอยู่ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพิธีนั้นๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีตั้งตี่จู่เอี๊ยะ และหลีกเลี่ยงวันร้ายต่างๆ เช่น วันอุบาทว์ วันกาลกิณี […]

ฤกษ์ยามงามดี คืออะไร Read More »

นักษัตรชง คืออะไร และ 6 คู่นักษัตรที่ชงกัน

6 คู่นักษัตรที่ชงกันตามหลักโหราศาสตร์จีน เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเวลาซินแสดูฤกษ์มงคลต้องพยายามหลีกเลี่ยงการชงเป็นสิ่งสำคัญ ทำไมผู้ที่เกิดปีชงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ทำไมต้องไปแก้ชง ฯลฯ วันนี้น่ำเอี๊ยงมีคำตอบ การชง “冲” คืออะไรในทางโหราศาสตร์จีน “การชง” (ตัวย่อ:冲 ตัวเต็ม: 衝) หมายถึงการปะทะ สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกี่ยวข้องกับหลักเบญจธาตุ (ไม้ ไฟ ดิน ทอง น้ำ) ซึ่งแต่ละธาตุจะมีการส่งเสริม ทำลาย และทำให้อ่อนแอ หมุนเวียนกันเป็นวัฏจักรอันมีพื้นฐานจาก หยิน (陰) และหยาง (陽) ก่อเกิดเป็นความสมดุลของจักรวาล บรรดา 12 นักษัตรบนแผนภูมิสวรรค์ (天干地支) เองก็มีธาตุประจำตัวและตั้งอยู่บนหลักทฤษฎีนี้ คนจีนจึงมักจะนำปีชงมาใช้อ้างอิงกับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต ตั้งแต่การหาคู่ครอง การงาน การเงิน หรือปัญหาครอบครัว โดยสามารถจับคู่นักษัตรที่ชงกันได้ 6 คู่ ดังนี้ชวด ไม่ถูกกับ มะเมียฉลู ไม่ถูกกับ มะแมขาล ไม่ถูกกับ วอกเถาะ ไม่ถูกกับ ระกามะโรง ไม่ถูกกับ

นักษัตรชง คืออะไร และ 6 คู่นักษัตรที่ชงกัน Read More »

วันกาลกิณี ไม่ดีอย่างไร

“วันกาลกิณี” ไม่ดีอย่างไร ความหมายและกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง วันซี้ลี้ (四離) หรือวันกาลกิณี ในหนึ่งปีจะมี 4 วัน เป็นวันที่พลังอิมเอี๊ยง (หยินหยาง 陰陽) ไม่สมดุล ไม่ควรประกอบกิจมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน เปิดกิจการ เข้าบ้านใหม่ ฯลฯ เด็ดขาด คนจีนโบราณมีการสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมาอย่างยาวนานเพื่อใช้ในการกำหนดช่วงเวลาเพาะปลูก จนเกิดเป็นปฏิทินชาวนาซึ่งแบ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้งปีเป็น 4 ฤดู 24 สารท โดยทางโหราศาสตร์จีนเชื่อว่าสภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กับพลังธาตุ นอกจากจะมีผลต่อการเพาะปลูกและการใช้ชีวิตแล้ว ยังมีผลต่อกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำให้สอดคล้องกับฤดูกาลด้วย โดยในวันที่สภาพอากาศแปรปรวนจนส่งผลต่อพลังธาตุนั้นมีสองแบบ คือ วันกาลกิณีกับวันอุบาทว์ วันกาลกิณี จะนับเป็น 1 วันก่อนเข้าสารท ดังนี้ วันซี้เจ๊าะ (四絕) หรือวันอุบาทว์ ในหนึ่งปีจะมี 4 วัน เนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพื่อเข้าสู่ฤดูกาลทั้ง 4 จึงเป็นช่วงที่พลังธาตุในธรรมชาติแปรปรวน เมื่อเริ่มทำกิจกรรมสำคัญในวันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่คงที่ จึงไม่ควรประกอบกิจมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน เปิดกิจการ เข้าบ้านใหม่ เซ็นสัญญา ฯลฯ

วันกาลกิณี ไม่ดีอย่างไร Read More »

วงล้อเทียบฤกษ์ยามเกิด ตามโหราศาสตร์จีน

วงล้อเทียบฤกษ์ยามเกิด ตามโหราศาสตร์จีน การนับชั่วโมงแบบจีน หลักโหราศาสตร์จีนจะแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวันออกเป็นยามต่าง ๆ 12 ยาม (时辰) แล้วเรียกชื่อแต่ละยามตามปีนักษัตร ซึ่งจะเริ่มนับยามแรกที่ปีชวดแล้วนับถัดไปเรื่อย ๆ จนถึงปีกุน จะแบ่งนักษัตรละ 2 ชั่วโมง เรียกว่า 1 ชั่วยาม รวมทั้ง 12 นักษัตรก็จะครบ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วันพอดี หลักการแบ่งเวลาเช่นนี้มีผลอย่างมากในการทำนายโหราศาสตร์จีน เพราะจำเป็นต้องใช้ขึ้นดวงแต่ละบุคคลในแผนผังอ่านดวงชะตาที่เรียกว่าปาจื่อ (八字) คล้าย ๆ กับการผูกดวงแบบโหราศาสตร์ไทย ถ้าเรารู้เวลาเกิดของเราก็จะสามารถเทียบออกมาได้ว่าเราเกิดตรงกับช่วงยามไหน  ที่น่ำเอี๊ยงเวลาซินแสดูฤกษ์ยามก็จะยึดช่วงเวลาเกิดตามหลักการนี้ในการคำนวณ เพื่อให้ได้ฤกษ์ยามที่ดีและเหมาะสมกับคน ๆ นั้นมากที่สุด ส่วนฤกษ์ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน เช่น คลอดบุตรก็จะใช้ช่วงเวลาเกิดของคุณพ่อคุณแม่ในการคำนวณหาวันเกิดที่ดีที่สุดของลูก ช่วงเวลาที่ได้รับไปจึงมีความสมพงษ์หรือฮะ (合) กับชะตาของคุณที่คำนวณมาเพื่อคุณคนและคุณที่คุณรัก

วงล้อเทียบฤกษ์ยามเกิด ตามโหราศาสตร์จีน Read More »

ธาตุประจำตัว vs ธาตุหลัก ต่างกันอย่างไร?

ธาตุประจำตัว vs ธาตุหลัก ต่างกันอย่างไร? หลายคนคงคุ้นเคยกับสัญลักษณ์วงกลมครึ่งขาวครึ่งดำ หรือสัญลักษณ์หยินหยาง (陰陽) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อของคนจีนเป็นอย่างมาก รวมถึงความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์จีนก็เช่นกัน โดยชาวจีนมีความเชื่อว่าเริ่มแรกก่อนจะเกิดสรรพสิ่งนั้น มีสิ่งที่เรียกว่า อู่จี๋ (無極) ที่หมายถึงความว่างเปล่าหรือสภาวะหยุดนิ่ง จากนั้นเมื่อความว่างเปล่าเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นความเต็ม จึงเกิดไท่จี๋ (太極) หรือความสมบูรณ์ ที่ประกอบไปด้วย หยินและหยางซึ่งสื่อถึงสภาวะที่ทุกสรรพสิ่งจะมีคู่ตรงข้ามเสมอ เช่น ผู้ชายและผู้หญิง ดำและขาว ดีและเลว สุขและทุกข์ ฯลฯ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดอยู่ตลอดเวลา และ เมื่อที่ใดมีไท่จี๋ ก็จะมีสสารเกิดขึ้นตามไปด้วย และสสารเหล่านี้สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ น้ำ ไม้ ไฟ ดิน และทอง ซึ่งทั้ง 5 ธาตุนั้นจะทำงานเป็นวัฏจักรเพื่อให้โลกเกิดความสมดุล ดังนี้💧ธาตุน้ำก่อเกิดธาตุไม้🌲ธาตุไม้ก่อเกิดธาตุไฟ🔥ธาตุไฟก่อเกิดธาตุดิน🟤ธาตุดินก่อเกิดธาตุทอง✨ธาตุทองก่อเกิดธาตุน้ำ ในตัวมนุษย์ก็มีธาตุเป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกัน โดยสามารถดูได้จากการขึ้นดวงปาจื้อ (八字) ที่เป็นการนำเอาวัน เดือน ปีเกิดและเวลาตกฟากของบุคคลนั้น ๆ มาคำนวณหาสัดส่วนธาตุที่จะปรากฏเป็นดวงจีน 8 ตัวอักษร โดยช่องด้านบนจะเรียกว่า

ธาตุประจำตัว vs ธาตุหลัก ต่างกันอย่างไร? Read More »

หลัก 5 ธาตุ กับความสมดุลของชีวิต

หลัก 5 ธาตุ กับความสมดุลของชีวิต โหราศาสตร์จีนเชื่อว่าสรรพสิ่งในจักรวาลประกอบกันด้วย 5 ธาตุ (五行) หรือ โหงวเฮ้ง คือ ดิน (土) โถว ทอง (金) กิม น้ำ (水) จุ้ย ไม้ (木) บั่ก และไฟ (火) ฮ่วย ซึ่งธาตุทั้ง 5 นี้ต่างมีความสัมพันธ์กันทั้งในแง่ที่สร้างหรือให้กำเนิด (生) แซ ทำให้อ่อนกำลัง ( 洩) เซี้ยบ และข่ม (克) คั่ก การสร้าง การข่ม และการทำให้อ่อนแรงกันของธาตุทั้ง 5 จะดำเนินไปเป็นวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนส่งถ่ายพลังงานไปมาหากัน ไม่มีสิ่งไหนคงที่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมดุลหรือ หยิน-หยาง ของสรรพสิ่งในจักรวาล. หลัก 5 ธาตุนี้เป็นหัวใจหลักของปรัชญาจีนไม่ว่าจะเป็นโหราศาสตร์ แพทยศาสตร์ ฮวงจุ้ย โหงวเฮ้ง อาหาร

หลัก 5 ธาตุ กับความสมดุลของชีวิต Read More »

คู่ครอง “สมพงศ์” หรือ “ชง” ดูยังไง

คู่ครอง “สมพงศ์” หรือ “ชง” ดูยังไง ความนิยมของสังคมที่มีต่อแนวคิด “ความสมพงศ์” ของคนจีนและคนไทย ความสมพงศ์ในอดีตของวัฒนธรรมไทยและจีนล้วนผูกโยงเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นสูงที่เชื่อกันว่าการเลือกคู่ครองมีผลต่ออนาคตของบ้านเมือง ส่วนในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าหลักความสมพงศ์จะยังคงใช้เพื่อดูเนื้อคู่ รวมถึงใช้เพื่อเป็นช่องทางให้ครอบครัวหรือญาติพี่น้องได้พบปะกับคนที่รู้จัก เพื่อหวังเกี่ยวดองตระกูลให้เจริญก้าวหน้า แต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของการเลือกคู่ครองเหมือนในสมัยก่อน อย่างไรก็ดีการนำหลักสมพงศ์ของวัฒนธรรมไทยและจีนมาประยุกต์ใช้ในแต่ละยุคสมัยนั้น ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจ ความสมพงศ์ในวัฒนธรรมของคนไทยโหราศาสตร์ไทยเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ฮินดูเป็นหลัก เห็นได้จากการที่คนไทยมีความเชื่อเรื่อง “พรหมลิขิต” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ได้ว่า ข้อความหรือลวดลายที่พระพรหมเขียนไว้ อนุมานได้ว่าชะตาชีวิตของมนุษย์ถูกกำหนดไว้โดยพระพรหม อย่างไรก็ตาม ศาสนาพราหมณ์ฮินดูก็ได้กลมกลืนอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาโดยตลอด โดยสะท้อนออกมาผ่านตำราโหราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง “ตำราพรหมชาติ” ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและถูกรวบรวมเป็นตำราในสมัยรัตนโกสินทร์ การดูดวงแบบตำราพรหมชาตินั้นจะนำปีนักษัตรมาเป็นส่วนหนึ่งของการดูดวง จากนั้นผูกโยงเข้ากับธาตุต่าง ๆ เช่น ปีชวดธาตุน้ำ ปีฉลูธาตุดิน แต่จะมีธาตุเหล็กเข้ามาด้วย ซึ่งได้แก่ ปีวอกและระกา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือตำราพรหมชาติ) ความสมพงศ์ในวัฒนธรรมของคนจีนหากพูดถึงความสมพงศ์ในวัฒนธรรมจีนก็คงไม่พ้นเรื่องของโป๊ยหยี่สี่เถียว (八字四條) ปีนักษัตรและธาตุทั้ง 5 ของจีนซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างไรก็ตามความสมพงศ์ในวัฒนธรรมจีนนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก สำหรับคนไทยทั่วไปน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า “ชง” (ตัวเต็ม: 衝 ตัวย่อ: 冲) ที่หมายถึงการที่ดวงไม่ถูกกัน และเช็กได้ด้วยตัวเองจากปฏิทินน่ำเอี๊ยง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การ

คู่ครอง “สมพงศ์” หรือ “ชง” ดูยังไง Read More »

แผนภูมิสวรรค์ เทียนกานตี้จือ (天干地支)

แผนภูมิสวรรค์ เทียนกานตี้จือ (天干地支) คนจีนแบ่งโลกและจักรวาลออกเป็น 2 ส่วน ภาคสวรรค์และภาคผืนดิน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง 60 รูปแบบและวนกลับมารอบใหม่ทุกครั้ง สื่อถึงทุกสรรพสิ่งล้วนกลับสู่จุดเริ่มต้น ศาสตร์นี้มีประวัติยาวนานนับพันปี ฝังรากลึกและแฝงคติในพิธีกรรม ความเชื่อ วัฒนธรรม วรรณคดี ศิลปะ รวมถึงโหราศาสตร์จีนอย่างแนบแน่น เทียนกาน หรือ ต้นฟ้า (天干)มีทั้งหมด 10 ตัว ซึ่งแบ่งออกมาจาก 5 ธาตุ ไม้ ไฟ ดิน ทอง น้ำ ได้แก่ 甲 กะ (ไม้หยาง)乙 อิ๊ก (ไม้หยิน)丙 เปี้ย (ไฟหยาง)丁 เต็ง (ไฟหยิน)戊 โบ่ว (ดินหยาง)己 กี้ (ดินหยิน)庚 แก (ทองหยาง)辛 เซ็ง (ทองหยิน)壬 หยิ่ม (น้ำหยาง)癸 กุย (น้ำหยิน) ตี้จือ

แผนภูมิสวรรค์ เทียนกานตี้จือ (天干地支) Read More »

Scroll to Top