March 8, 2024

เทศกาลสงกรานต์ของไทยและของจีนต่างกันอย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าเทศกาลสงกรานต์ของไทยนั้นถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของชาติอันเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา องค์กรยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้ประเพณีสงกรานต์ของไทยเป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ” (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศจีนเองก็มี “เทศกาลสงกรานต์ในรูปแบบของตัวเอง” ซึ่งเรียกว่า “พัวสุยเจี๋ย” หรือเทศกาลสาดน้ำ คำว่า “เทศกาลสงกรานต์” ในภาษาจีน คำว่า “เทศกาลสงกรานต์” ในภาษาจีนคือ 宋干節 (ซ่งกานเจี๋ย) และ 潑水節 (พัวสุยเจี๋ย) ถึงแม้ว่าจะแปลเหมือนกัน แต่สิ่งที่อ้างถึงนั้นต่างกัน กล่าวคือ หากกล่าวถึงเทศกาลสงกรานต์ของไทย จะใช้คำว่า 宋干節 (ซ่งกานเจี๋ย) ในขณะที่คำว่า 潑水節 (พัวสุยเจี๋ย) จะหมายถึงเทศกาลสงกรานต์ของจีนชนเผ่าไต (傣族) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “เทศกาลสาดน้ำ” ซึ่งในบทความนี้จะขอเรียกเทศกาลสงกรานต์ของจีนว่า “เทศกาลสาดน้ำ” เพื่อแยกความแตกต่างออกจากเทศกาลสงกรานต์ของไทย ทำความรู้จักเทศกาลสาดน้ำ เทศกาลสาดน้ำ ถือเป็นเทศกาลปีใหม่ของชาวไต ตรงกับเดือน 6 ของปฏิทินไต …

เทศกาลสงกรานต์ของไทยและของจีนต่างกันอย่างไร Read More »

ทำความรู้จัก 4 พระมหาโพธิสัตว์แห่งพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

หากกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ หรือที่ในภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “ผ่อสัก” (菩薩) หลายคนอาจคุ้นเคยกับเจ้าแม่กวนอิม หรือพระอวโลกิเตศวร (觀世音菩薩) มากกว่าองค์อื่น ๆ แต่นอกเหนือจากเจ้าแม่กวนอิมแล้ว ในพระพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นยังมีพระโพธิสัตว์อีกหลายองค์ที่เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านที่เคยเข้าศาลเจ้าไหว้พระนั้นน่าจะเคยเห็นแน่นอน เพียงแต่อาจจะไม่คุ้นเคยกับพระนามของท่าน ในบทความนี้น่ำเอี๊ยงจึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับพระมหาโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 4 พระองค์ว่ามีใครบ้าง พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์: ผู้สดับฟังเสียงร่ำไห้คร่ำครวญของสัตว์โลก พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (觀世音菩薩)  หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนามว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือ เจ้าแม่กวนอิม เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระอมิตาภพุทธ (阿彌陀佛) เดิมพระอวโลกิเตศวรเป็นผู้ชาย แต่เมื่อศาสนาพุทธเผยแพร่เข้าสู่ประเทศจีนและเข้าสู่ราชวงศ์ถัง (唐朝) ได้เกิดคตินิยมให้สร้างพระองค์ให้เป็นเพศหญิง และเรียกกันว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมนั่นเอง “我之所有一切善根,盡回向阿耨多羅三藐三菩提。願我行菩薩道時,若有眾生受諸苦惱、恐怖等事,退失正法,墮大暗處,憂愁孤窮、無有救護、無依無舍,若能念我、稱我名字,若其為我天耳所聞、天眼所見,是眾生等,若不得免斯苦惱者,我終不成阿耨多羅三藐三菩提。” ——《悲華經》 ความตอนหนึ่งจาก《悲華經》หรือ “กรุณาปุณฑรีกสูตร” หนึ่งในพระสูตรที่สำคัญของนิกายมหายาน ได้แสดงให้เห็นถึงความเมตตาอันเปี่ยมล้นของเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า  “หากมีสัตว์โลกใดไม่พ้นทุกข์ เราก็ไม่ขอบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เจ้าแม่กวนอิมนั้นกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตามาจนถึงปัจจุบัน อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมต่อได้ที่บทความ ไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิมปางต่าง ๆ พร้อมบทสวดบูชาเสริมความเมตตา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์: ผู้เป็นตัวแทนแห่งปัญญาและความคิดอันปราดเปรื่อง พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (文殊菩薩) หรือในภาษาจีนแต้จิ๋วอ่านว่า “บุ่งซู้ผ่อสัก” เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระศากยมุนี (釋迦牟尼) และทรงเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา …

ทำความรู้จัก 4 พระมหาโพธิสัตว์แห่งพระพุทธศาสนานิกายมหายาน Read More »

ทำความรู้จัก “ตั่งซาโหง่วเนี้ย”《陳三五娘》งิ้วขาประจำเทศกาลหง่วงเซียว

“ทานขนมหยวนเซียวคืนเดือนหงาย ทายปริศนาโคมลอย ปล่อยใจชมโคมไฟและแสงจันทร์ในยามราตรี” หากพูดถึงเทศกาลหยวนเซียว (元宵節) แล้ว เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงธรรมเนียมประเพณีที่กล่าวไปข้างต้นเป็นอันดับแรก ๆ อย่างไรก็ตาม นอกจากสามสิ่งนี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน นอกจากนี้ยังได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีรัฐกิจของประเทศจีน (中華人民共和國國務院) ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติจีนอีกด้วย ซึ่งก็คืองิ้วเรื่อง “ตั่งซาโหง่วเนี้ย”《陳三五娘》จากคณะงิ้วลี่หยวน เมืองเฉวียนโจว (泉州梨園戲)  เรื่องราวความรักระหว่างตั่งซาและโหง่วเนี้ย “ตั่งซาโหง่วเนี้ย”《陳三五娘》หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ “หลี่เกี๊ยกี่”《荔鏡記》คือบทงิ้วที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (明代) เรื่องราวมีอยู่ว่า ตั่งซา (陳三) ซึ่งเป็นบัณฑิตหนุ่มชาวเมืองเฉวียนโจว มณฑลฮกเกี้ยน (福建泉州人) กำลังจะส่งพี่ชายไปรับราชการที่เมืองกว่างหนาน (廣南) แต่ระหว่างทางได้ผ่านเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง (廣東潮州) ซึ่ง ณ ขณะนั้นกำลังจัดเทศกาลหง่วงเซียวอยู่พอดี และในคืนเดือนหงายครั้งแรกของปีนั้นเอง ตั่งซาก็ได้บังเอิญพบกับโหง่วเนี้ย ลูกสาวของคหบดีผู้มั่งคั่งตระกูลอึ๊ง (黃五娘) และจุดเริ่มต้นความรักของทั้งสองก็ได้เริ่มต้นเนิดขึ้นโดยมีพระจันทร์และโคมไฟเป็นสักขีพยาน แต่ฝ่ายบิดาของโหงวเนี้ยนั้นได้จัดแจงงานแต่งให้ลูกสาวของตนเป็นที่เรียบร้อย โดยให้แต่งงานกับเศรษฐีนามว่า “หลิ่มไต๋” (林大) โดยที่โหงวเนี้ยไม่เต็มใจ จึงได้แต่รู้สึกเศร้าใจทว่าไม่อาจทำอะไรได้ ตั่งซาจึงตัดสินใจกลับมาที่เมืองแต้จิ๋วอีกครั้ง และปลอมตัวเป็นช่างรับจ้างขัดกระจกเพื่อที่จะได้เข้าบ้านตระกูลอึ๊ง โหง่วเนี้ยต้องการที่จะเผยความในใจ จึงเอาลิ้นจี่ห่อผ้าเช็ดหน้าแล้วโยนลงไปให้ตั่งซา เมื่อตั่งซารู้ดังนั้นแล้วจึงแกล้งทำกระจกของตระกูลนางเอกแตก แล้วอ้างว่าไม่มีเงินชดใช้ จำต้องยอมขายตัวเองเป็นทาสรับใช้ของตระกูล เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้นางเอก …

ทำความรู้จัก “ตั่งซาโหง่วเนี้ย”《陳三五娘》งิ้วขาประจำเทศกาลหง่วงเซียว Read More »

กวนอู (關羽): จากแม่ทัพผู้ชาญชัยสู่เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

กวนอูถือเป็นหนึ่งในบุคคลประวัติศาสตร์ที่ไม่ว่าใครต่างก็เคยได้ยิน ทั้งในฐานะแม่ทัพผู้เก่งกาจในยุคสมัยสามก๊ก และเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ แต่จากที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านอาจรู้จักกวนอูในฐานะ “ไฉ่สิ่งเอี๊ย” หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภด้วย (財神爺) หรือหากกล่าวให้แม่นยำยิ่งขึ้นก็จะต้องบอกว่าเป็น เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ หรือ “บู๊ไฉ่สิ่งเอี๊ย” (武財神)  สถานะของกวนอูในยุคสมัยต่าง ๆ ยุคฉิน ฮั่น เว่ย จิ้น และหนานเป่ยเฉา (秦、漢、魏晉、南北朝)  นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย มาจนถึงหนานเป่ยเฉา กวนอูนั้นยังไม่ได้รับสถานะเป็นเทพ มีเพียงแค่บางพื้นที่ของประเทศจีนเช่นเมืองเกงจิ๋วและแคว้นจ๊กเท่านั้นที่ตั้งศาลเจ้าเพื่อสักการะบูชาท่านในฐานะ “วิญญาณผี” เท่านั้น เพราะเชื่อว่าท่านเป็นแม่ทัพที่เสียชีวิตในสนามรบทำให้มีความอาฆาตแค้นสูง จึงเคราพบูชาด้วยความหวั่นเกรง ราชวงศ์สุย (隋唐) ในยุคสมัยนี้เป็นช่วงที่สถานะของกวนอูนั้นเริ่มเปลี่ยนไป กล่าวคือไม่ได้ถูกมองเป็นวิญญาณร้ายอีกต่อไป ใน “บันทึกทั่วไปเกี่ยวกับผู้ก่อตั้งพุทธศาสนา”《佛祖統記》เล่าไว้ว่าคำคืนหนึ่งในขณะที่พระอาจารย์จื้ออี่ (智顗) กำลังบำเพ็ญสมาธินั้น กวนอูก็ได้ปรากฏต่อหน้าท่าน และขอให้พระอาจารย์สร้างวัดในเมืองเกงจิ๋วขึ้น โดยที่ตนจะทำหน้าที่ปกป้องพระอารามแห่งนี้ พระอาจารย์จื้อเจ่อจึงได้แสดงธรรมให้แก่กวนอู และหลังจากนั้นเป็นต้นมา กวนอูก็ได้ปกป้องสถานที่แห่งนี้มาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระสังฆรามโพธิสัตว์” (伽藍菩薩) หรือพระโพธิสัตว์ผู้ปกป้องศาสนา ราชวงศ์ซ่ง (宋代) ในยุคสมัยดังกล่าว มีเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์บ้านเมือง การศึกสงครามรอบด้าน …

กวนอู (關羽): จากแม่ทัพผู้ชาญชัยสู่เทพเจ้าแห่งโชคลาภ Read More »

เช็งเม้งปีนี้ จัดของไหว้รับเฮง ต้อนรับเทศกาลลูกหลานกตัญญู

วันเช็งเม้ง (清明节) คือ ช่วงฤดูที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่ม ดอกไม้เริ่มผลิบาน เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศกำลังสบาย จึงเหมาะแก่การออกจากบ้านเพื่อไปกราบไหว้ และปัดกวาดสุสานของบรรพพชน โดย วันเช็งเม้ง จะอยู่ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนที่ 3 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ซึ่งมักจะตรงกับวันที่4 หรือ 5 เมษายนของแต่ละปี รู้หรือไม่? ในสมัยโบราณ ก่อนผู้คนจะออกไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสานในเทศกาลเช็งเม้ง (清明節) 1-2 วันคือ เทศกาลอาหารเย็น หรือเทศกาลหานสือ (寒食節) มีที่มาจากสมัยโบราณที่นิยมใช้ฟืนก่อไฟทำอาหาร ซึ่งมีประเพณีปฏิบัติเวลาเปลี่ยนฤดูก็มีจะการเปลี่ยนกองฟืนและจุดไฟซึ่งเรียกไฟที่จุดขึ้นว่าไฟใหม่ ดังนั้นช่วงหาฟืนและรอไฟใหม่จะไม่ใช้ไฟเด็ดขาด ชาวบ้านจึงทำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น โจ๊กธัญพืชเย็น ปอเปี๊ยะห่อผัก เต้าหู้แห้ง ขนมหันจี้ว์(寒具) ทำจากแป้งกับงา ขนมแป้งข้าวเหนียวสอดไส้ด้วยถั่วแดงหรือถั่วดํา ฯลฯ ไว้ทานในช่วงที่ขาดไฟ ซึ่งต่อมาเทศกาลอาหารเย็นนี้ได้ถูกหลอมรวมเข้ากับเทศกาลเช็งเม้งที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน เช็งเม้ง เทศกาลลูกหลานกตัญญูและตำนานการเลี้ยงไหมของชาวจีน ต้นกำเนิดเทศกาลเช็งเม้งเทศกาลเช็งเม้ง ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยของพระเจ้าฮั่นเกาจู ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นของประเทศจีน หลักเสร็จการศึกพระเจ้าฮั่นเกาจูได้เดินทางกลับไปสักการะป้ายหลุมศพของผู้มีพระคุณที่สุสานยังเมืองบ้านเกิด แต่ด้วยผลพวงจากศึกสงคราม ทำให้ป้ายชื่อในสุสานถูกทำให้เสียหาย จนไม่อาจทราบได้ว่าป้ายไหนเป็นของใครพระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิษฐานต่อเทวดาฟ้าดินด้วยแรงกตัญญูที่อยากเคารพบรรพชนผู้ล่วงลับ ขอให้หาหลุมศพของบิดามารดาเจอ จากนั้นจึงได้ทำการโปรยกระดาษขึ้นฟ้า หากกระดาษนั้นไปตกอยู่ที่ป้ายสุสานใดให้ถือว่าป้ายนั้นเป็นของบิดามารดาผู้ล่วงลับ จากนั้นเมื่อไปตรวจสอบดูกระดาษที่โปรยก็พบว่ากระดาษได้ร่วงลงมาตกอยู่บนป้ายหลุมศพของบิดามารดาจริงดังคำอธิษฐาน​ที่มาทำความสะอาดฮวงซุ้ย โปรยกลีบดอกไม้จากประวัติของพระเจ้าฮั่นเกาจูนี้เอง …

เช็งเม้งปีนี้ จัดของไหว้รับเฮง ต้อนรับเทศกาลลูกหลานกตัญญู Read More »

เทศกาลชุงฮุง มีอะไรมากกว่าที่คิด

บนปฏิทินจีนน่ำเอี๊ยง มีวันหนึ่งเขียนเอาไว้ว่าวันชุงฮุง วันนี้หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นวันที่มีความสำคัญในช่วงเทศกาลการไหว้บรรพบุรุษไม่แพ้กับเช็งเม้งเลยก็ว่าได้ ชุงฮุง สารทฤดูใบไม้ผลิและการไหว้บรรพบุรุษ ความเป็นมาของเทศกาลชุงฮุง วันชุงฮุง (春分) ตรงกับวันที่ 11 เดือน 2 ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติจีน คำว่า “ชุงฮุง” แปลว่า กลางฤดูใบไม้ผลิ โดยเป็นเป็น 1 ใน 24 สารทย่อยของจีน ในสมัยโบราณวันนี้จะมีความสำคัญเกี่ยวกับการไหว้เทพเจ้าแห่งการเกษตร เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนี้ วันชุงฮุง ยังเป็นวันที่มีปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าเป็นวันที่โลกมีความสมดุลมากที่สุดอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ช่วงชุงฮุงนั้น เป็นหนึ่งใน 24 สารทย่อยของจีน จะอยู่ในช่วงกลางฤดูใบไม่ผลิ เป็นช่วงสภาพอากาศอบอุ่น แดดดี อากาศแจ่มใสเหมาะกับการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง จึงทำให้หลายครอบครัวมีการเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษในช่วงชุงฮุง แทนการไปไหว้ในช่วงเช็งเม้ง เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายและการจราจรที่ติดขัด ความมหัศจรรย์ของเทศกาลชุงฮุงเทศกาลชุงฮุงนอกจากจะเป็นช่วงเวลาสำคัญในการไหว้บรรพบุรุษแล้ว อีกหนึ่งความพิเศษของเทศกาลนี้ก็คือ วันวิษุวัต (EQuinox) หรือ วันราตรีเสมอภาค ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 5 หรือ วันที่ 21 มีนาคมของทุกปีโดยไม่คลาดเคลื่อน วันนี้มีปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน การละเล่นในช่วงเทศกาลชุงฮุง​พิธีตั้งไข่เป็นหนึ่งในการละเล่นของวันชุงฮุง ที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานกว่า4,000ปี …

เทศกาลชุงฮุง มีอะไรมากกว่าที่คิด Read More »

“ตรุษจีน” วันแห่งการเฉลิมฉลองความมงคลที่มีมาอย่างยาวนาน 

เทศกาลตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน เป็นหนึ่งในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกเทศกาลหนึ่ง โดยเทศกาลนี้จะอยู่ในช่วงวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน     ทำความรู้จัก ตรุษจีน วันมงคลที่ชาวจีนให้ความสำคัญมากที่สุด  หากกล่าวถึงวันขึ้นปีใหม่ หลายคนก็จะนึกวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันปีใหม่สากลที่มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ แต่คงไม่ใช่สำหรับชาวจีน เพราะชาวจีนนั้นมีวันปีใหม่เป็นของตัวเองมาอย่างยาวนานร่วม 4 สหัสวรรษ (4,000ปี) ที่เรียกกันว่า “วันตรุษจีน” สาเหตุที่ชาวจีนไม่ยึดถือเอาวันที่ 1 มกราคม ขึ้นมาเป็นวันปีใหม่นั้นก็มีที่มาจากการที่ เดิมทีแล้วประเทศจีน ไม่ได้มีการใช้ปฏิทินสุริยคติเหมือนกับประเทศทางฝั่งตะวันตก แต่ประเทศจีนนั้นใช้ปฏิทินที่มีการคิดค้นขึ้นมาเองภายในประเทศเรียกว่าปฏิทินจันทรคติจีน ทำให้วันที่ 1 เดือนมกราคม จะยังคงอยู่ในเดือนที่ 12 ตามปฏิทินหรือเรียกกันว่าเสียวฮั้ง (小寒) และเป็นช่วงฤดูหนาว อากาศมีความหนาวเย็น และเป็นช่วงการผสมพันธ์ของสัตว์นานาชนิดจึงไม่นิยมจัดงานเฉลิมฉลองกันเท่าใดนัก พิธีการงานมงคลช่วงฤดูหนาวของชาวจีนก่อนถึงวันปีใหม่ แต่ในช่วง 15 วันสุดท้ายของปี หรือไต้ฮั้ง (大寒) ซึ่งแปลว่า ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเป็นอย่างมาก ชาวจีนจะจัดกิจกรมมมงคล อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าเตา ในวันที่ 24 …

“ตรุษจีน” วันแห่งการเฉลิมฉลองความมงคลที่มีมาอย่างยาวนาน  Read More »

วันขึ้นปีใหม่ หนึ่งวันมงคลของไทย-จีน

 1 มกราคม เป็นวันที่ผู้คนจากหลากหลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะเป็นวันของการเปลี่ยนผ่านจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ แต่ทั้งนี้วันปีใหม่ของแต่ละเชื้อชาติเองก็แตกต่างกันออกไปตามศาสนา ความเชื่อ และรูปแบบวิธีการนับตามปฏิทิน  การเปลี่ยนผ่านก่อนจะกลายมาเป็นวันขึ้นปีใหม่ในปัจจุบัน วันขึ้นปีใหม่ คือ การขึ้นรอบใหม่หลังโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 365 รอบ (ซึ่งนับเป็น 12 เดือน หรือ 1 ปี) ทั้งนี้การนับวันขึ้นปีใหม่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่สากลในปัจจุบันมีที่มาจากชาวบาบิโลนย้อนกลับไปในสมัยของชาวบาบิโลน ที่มาจากชนชาติบาบิโลเนียซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำยูเฟเฟรทีสและเป็นชนชาติโบราณที่ได้คิดค้นการนับวันเวลารวมถึงการอ่านปฏิทินได้เป็นชนชาติแรก ๆ ของอารยธรรมสมัยโบราณ การนับปฏิทินตามแบบของชาวบาบิโลนนั้นจะมีการนับที่ไม่เหมือนกันกับในปัจจุบันตามที่เราคุ้นเคย เพราะชาวบาบิโลนจะมีการนับปฏิทินตามรอบของดวงจันทร์ คือ เมื่อครบรอบ 12 เดือน จะนับเป็น 1 ปี และมีการเพิ่มรอบเดือนเข้ามาอีก 1 เดือน ในทุก ๆ 4 ปี เพื่อให้ตรงกันกับฤดูกาลของโลก โดยจะนับเป็น 13 เดือน ในทุก 4 ปี ทำให้วันขึ้นปีใหม่ในยุคสมัยของชาวบาบิโลนนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทุก 4 ปี ปรับเปลี่ยนการนับวันขึ้นปีใหม่ครั้งแรกการนับปีใหม่ในรูปแบบของชาวบาบิโลนมีการปรับเปลี่ยนโดยชาวอียิปต์และชาวกรีก รวมไปถึงชาวเซมิติค …

วันขึ้นปีใหม่ หนึ่งวันมงคลของไทย-จีน Read More »

Scroll to Top