March 8, 2024

การนับชั่วโมงแบบจีน (时辰) เรียกช่วงเวลาตามปีนักษัตร

สาระสั้น ๆ จากน่ำเอี๊ยงวันนี้จะขอพูดถึง “การนับชั่วโมงแบบจีน” โดยหลักโหราศาสตร์จีนจะแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวันออกเป็นยามต่าง ๆ 12 ยาม (时辰) แล้วเรียกชื่อแต่ละยามตามปีนักษัตร ซึ่งจะเริ่มนับยามแรกที่ปีชวดแล้วนับถัดไปเรื่อย ๆ จนถึงปีกุน จะแบ่งนักษัตรละ 2 ชั่วโมง เรียกว่า 1 ชั่วยาม รวมทั้ง 12 นักษัตรก็จะครบ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วันพอดี  หลักการแบ่งเวลาเช่นนี้มีผลอย่างมากในการทำนายโหราศาสตร์จีน เพราะจำเป็นต้องใช้ขึ้นดวงแต่ละบุคคลในแผนผังอ่านดวงชะตาที่เรียกว่า ปาจื้อ (八字) คล้าย ๆ กับการผูกดวงแบบโหราศาสตร์ไทย ถ้าเรารู้เวลาเกิดของเราก็จะสามารถเทียบออกมาได้ว่าเราเกิดตรงกับช่วงยามไหน  ที่น่ำเอี๊ยงเวลาซินแสดูฤกษ์ยามก็จะยึดช่วงเวลาเกิดตามหลักการนี้ในการคำนวณ เพื่อให้ได้ฤกษ์ยามที่ดีและเหมาะสมกับคน ๆ นั้นมากที่สุด ส่วนฤกษ์ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน เช่น คลอดบุตรก็จะใช้ช่วงเวลาเกิดของคุณพ่อคุณแม่ในการคำนวณหาวันเกิดที่ดีที่สุดของลูก  ช่วงเวลาที่ได้รับไปจึงมีความสมพงษ์หรือ ฮะ (合) กับชะตาของคุณที่คำนวณมาเพื่อคุณคนและคุณที่คุณรัก

การนับชั่วโมงแบบจีน (时辰) เรียกช่วงเวลาตามปีนักษัตร Read More »

อิ่มบุญครั้งใหญ่ในช่วงกินเจ เทศกาลแห่งการทำบุญเสริมความมงคล

ความเป็นมาเทศกาล เจ กินผักรับบุญ ประวัติเทศกาลกินเจเทศกาลกินเจ หรือ เทศกาลถือศีลกินผัก ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติจีน มีมาตั้งแต่สมัยบรรพกาล ชาวจีนมีความเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะไม่รับของเซ่นไหว้หรือใส่ใจผู้ที่มลทิน ดังนั้นก่อนทำพิธีเซ่นไหว้ต่าง ๆ พวกเขาจะทำการชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ที่สุด โดยการเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ถือศีลงดอาหารคาว งดประพฤติในกาม ซึ่งต้องปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด และนี่คือ “จุดเริ่มต้น ของประเพณีกินเจ” นิยามของ “การกินเจ” ในปัจจุบัน ผ่านเวลาหลายทศวรรษ ส่งผลให้การกินเจมีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต​เทศกาลการกินเจ จากจีน สู่ไทยเทศกาลกินเจในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มต้นขึ้นในสมัยใดแต่หากย้อนกลับไปและอ้างอิงหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีความเป็นไปได้ที่เทศกาลกินเจจะถูกนำเข้ามาเผยแพร่ยังประเทศไทยโดยคณะงิ้วและกลุ่มอั้งยี่ ซึ่งเป็นคนจีนที่อพยบโยกย้ายเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย จึงได้นำเอาประเพณีการกินเจเข้ามาด้วย แล้วผสมเข้ากับวัฒนธรรมในประเทศไทยจนก่อให้เกิดเป็นเทศกาลกินเจอันมีเอกลักษณ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน​ความหมายของตัวอักษร เจ บนธงสีเหลืองเจ (齋) ตัวอักษรที่เขียนเอาไว้บนธงสีเหลือ แปลว่า “การงดเว้นเพื่อความบริสุทธิ์” ตัวอักษรเจนั้นเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจ ที่ไม่ใช่เพียงบอกให้งดเว้นในการทานเนื้อสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องงดเว้นจากอบายมุข ไม่ว่าจะเป็น การงดเว้นจากประพฤติในกาม การงดเว้นจากความรื่นเริง การงดเว้นจากการละเล่นอันก่อให้เกิดความมั่วเมา และ

อิ่มบุญครั้งใหญ่ในช่วงกินเจ เทศกาลแห่งการทำบุญเสริมความมงคล Read More »

วันไหว้พระจันทร์ ขอพรความรักให้สุขสมหวัง เปิดรับพลังแห่งความงาม

วันไหว้พระจันทร์ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติจีน ภาษาจีนอ่านว่า “จงชิวเจี๋ย หรือ ตงชิวโจ่ย” (中秋節) มีความหมายว่า “เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง” ซึ่งตรงกับช่วงเวลาแห่งฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้มีท้องฟ้าที่แจ่มใส ไร้เมฆฝน อากาศปลอดโปร่ง ดวงจันทร์แจ่มกระจ่างเต็มดวง ประวัติที่มา กำเนิดวันไหว้พระจันทร์ เรื่องเล่าขานจากตำนานแห่งความรัก ​ วันไหว้พระจันทร์ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ วันไหว้พระจันทร์ ถูกจัดขึ้นในช่วงฤดูชิวฮุง(秋分) ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วงของชาวจีน ในอดีตเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางฤดูใบไม้ผลิฮ่องเต้จะทำพิธีไหว้พระอาทิตย์ก่อน แล้วจึงค่อยจัดพิธีการไหว้พระจันทร์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วง ในขณะที่ชาวบ้านก็จะมีการไหว้พระจันทร์เพื่อให้พืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ ในช่วงวันที่ 15 เดือน 8 เช่นเดียวกัน นอกจากการไหว้พระจันทร์ของฮ่องเต้แล้ว ยังมีการไหว้ของฮองเฮาที่มักจะทำคู่กันอย่างการไหว้เทพผู้เฒ่า ซึ่งเป็นการไหว้ดวงดาวประจำทิศใต้ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้มีอายุยืนยาว ​ ตำนานฉางเอ๋อ เทพธิดาบนดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ (嫦娥) เป็นเทพธิดาที่อยู่บนดวงจันทร์ตามความเชื่อของลัทธิเต๋า ในอดีตฉางเอ๋อเป็นคนรักของโฮวอี้ นักแม่นธนูของสวรรค์ โฮวอี้ได้รับภารกิจให้ไปกำราบพระอาทิตย์ซึ่งมีหมด 10 ดวงและพากันคึกคะนองส่องแสงเล่นพร้อมกันจนทำให้เกิดความเดือนร้อน โฮวอี้ได้ยิงธนูดับดวงอาทิตย์ไปทั้ง 9 ดวง จนทำให้โลกเหลือพระอาทิตย์แค่ดวงเดียวทำให้จักรพรรดิมสวรรค์ไม่พอใจ จึงได้เนรเทศโฮวอี้พร้อมกับฉางเอ๋อให้ลงไปอาศัยอยู่ยังโลกมนุษย์

วันไหว้พระจันทร์ ขอพรความรักให้สุขสมหวัง เปิดรับพลังแห่งความงาม Read More »

สารทจีน บรรพบุรุษกลับมาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมเปิดเส้นทางทัวร์นรกตามความเชื่อชาวจีน

วันสารทจีน หรือ ตงง้วงโจ่ย เป็นเทศกาลรำลึกถึงวิญญาณบรรพบุรุษจะจัดขึ้นวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน วันสารทจีนเป็นวันที่มีประวัติความเป็นมา รวมถึงตำนานเรื่องเล่าและประเณีที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ประวัติที่มา ตำนานความเชื่อ เทศกาลสารทจีน ประวัติวันสารทจีนตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ เทศกาลสารทจีน มีที่มาจากการไหว้บรรพบุรุษประจำฤดูใบไม้ร่วงที่เรียกกันว่าฤดูชู้สู้ (處暑) ซึ่งเป็นฤดูกาลย่อยหนึ่งใน 24 ฤดูกาลของประเทศจีน โดยมีการกำหนดเอาวันที่ 15 เดือน 7 เป็นวันสำหรับจัดพิธีการไหว้บรรพบุรุษ คาดว่าพิธีการไหว้นี้เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน หรือราวช่วง2,100 ปีก่อนคริสตกาล เดิมทีการไหว้บรรพบุรุษนี้จะจัดขึ้นเฉพาะภายในวังหลวงเป็นธรรมเนียมประจำปีของเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นสูงเท่านั้น ก่อนที่จะมีการแพร่หลายออกไปสู่ผู้คนภายนอกวังหลวง จนเกิดเป็นธรรมเนียม สารทการไหว้บรรพบุรุษ ที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน​จากการไหว้บรรพบุรุษ สู่การไหว้ผีไม่มีญาติการปรับเปลี่ยนธรรมเนียมการไหว้สารทจีนให้เป็นเทศกาลเซ่นไหว้วิญญาณไร้ญาติ จากเดิมทีที่เป็นการไหว้ฤดูใบไม้ร่วงเพื่อแสดงความกตัญญูและขอพรกับบรรพบุรุษนั้น เกิดขึ้นในช่วงที่ลัทธิเต๋ามีความรุ่งเรืองไปจนกระทั่งถึงช่วงของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ตามอิทธิพลทางด้านความเชื่อที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา ที่ว่าด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศล​ตำนานสารทจีนนอกจากความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว สารทจีน ยังมีความเป็นมาจากตำนานเรื่องเล่าทั้งหมด 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ตำนานการอุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณร้ายตามความเชื่อของชาวจีนเกี่ยวกับเรื่องของโลกหลังความตาย วิญญาณจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท คือวิญญาณดีและวิญญาณที่ทำบาปหนัก วิญญาณดีจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีหรือเมื่อตายก็จะได้ไปอยู่ที่แดนสุขาวดี ดินแดนตามความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน อันที่ประทับของพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่วิญญาณที่ทำบาปหนักต้องทนทุกข์ทรมานรับกรรมอยู่ในนรกภูมิ พบเจอกับอดอยาก หิวโหย ทำให้ชาวจีนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเกิดความสงสาร

สารทจีน บรรพบุรุษกลับมาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมเปิดเส้นทางทัวร์นรกตามความเชื่อชาวจีน Read More »

ไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิมปางต่าง ๆ พร้อมบทสวดบูชาเสริมความเมตตา

วันรำลึกพระโพธิสัตว์กวนอิม คือ วันที่ 19 เดือน 6 ตามปฏิทินจัทรคติจีน เป็นวันที่พระแม่กวนอิมบรรลุธรรมได้เป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ผ่อสัก (菩薩) ในสำเนียงแต้จิ๋ว หมายถึงผู้ตั้งจิตแน่วแน่ในการบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต เจ้าแม่กวนอิม การผสมผสานของตำนานและความเชื่อ ที่มาของเจ้าแม่กวนอิมพระแม่กวนอิม หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ในทางพุทธศานานิยามหายาน ซึ่งเป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ที่มีต้นกำเนิดมาจากทางฝั่งประเทศอินเดีย ก่อนที่ประเทศจีนจะรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามา และมีการหลอมรวมเข้ากับตำนานความเชื่อดั้งเดิมของทางจีน จนเกิดเป็นตำนานพระโพธิสัตว์กวนอิม​ตำนานที่ก่อเกิดเป็นเจ้าแม่กวนอิม ในฝั่งประเทศจีนตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซาน ตำนานกำเนิดเจ้าแม่กวนอิมของประเทศจีน โดยตำนานเล่าว่า เจ้าหญิงเมี่ยวซาน เป็นพระราชธิดาองค์เล็กสุด ของพระเจ้าเมี่ยวจง กับ พระนางเซี่ยวหลิน เมื่อถึงวัยเจริญชันษาที่ต้องออกเรือนเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่ประสงค์จะอภิเษกกับผู้ใด เพราะนางนั้นเป็นพุทธมามะกะศรัทธาเลื่อมใสในหลักพระธรรมและตั้งใจแน่วแน่ที่จะอุทิศตนให้กับทางธรรม ทำให้พระเจ้าเมี่ยวจงไม่พอพระทัยในตัวของนาง และได้ส่งให้นางไปทำงานหนักในสำนักชีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซานก็ไ่ม่ได้รู้สึกโกรธเคืองพระบิดาแต่อย่างใด นางได้เจริญภาวนาบำเพ็ญเพียร ทำทานโปรดสัตว์นางได้บรรลุธรรมขั้นสูงกระทั่งตรัสรู้กลายเป็นพระโพธิสัตว์ในที่สุดความศรัทธานับถือบูชาในเจ้าแม่กวนอิม​ลัทธิบูชาเจ้าแม่กวนอิมการบูชาเจ้าแม่กวนอิมนั้น มีความเชื่อมาจากทางฝั่งพระพุทธศาสนาในนิกายมหายาน องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือ เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสุดในทางมหายาน ในฐานะของพระโพธิสัตว์ที่มาโปรดสัตว์เพื่อให้บรรลุธรรมและไปเกิดในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นดินแดนของผู้บรรลุนิพานแล้วเท่านั้น ผู้ที่ได้ไปเกิดในดินแดนนี้จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกเป็นการละไว้ซึ่งวัฏจักรสังขาร​เมื่อบูชาเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เหตุใดจึงไม่กินเนื้อเจ้าแม่กวนอิม นับเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่มีความเมตตาปราณี หวังช่วยให้มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกพ้นจากความสุขเพื่อที่จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามวัฏจักรสังขารอีก เจ้าแม่กวนอิมจึงมีการบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่เสมอ ละเว้นซึ่งกิเลสตัณหาและการกินเนื้อสัตว์ นั่นจึงทำให้เป็นเหตุผลว่า เพราะเหตุใดผู้ที่เคารพนับถือเจ้าแม่กวนอิมส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมทานอาหารเจหรือมังสวิรัติที่ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์เลย เจ้าแม่กวนอิมมีมากกว่า 1 ปาง

ไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิมปางต่าง ๆ พร้อมบทสวดบูชาเสริมความเมตตา Read More »

เปิดที่มา “บะจ่าง” อาหารมงคลในตำนานที่ก่อเกิดเป็นเทศกาลสำคัญในปัจจุบัน

วันที่ 8 เดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันรำลึกถึงพระยูไล หรือไม่ใช่เพียงแค่บรรพบุรุษเท่านั้นที่ชาวจีนให้ความสำคัญ แต่อาหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อถึงเวลาต้องจัดงานเฉลิมฉลอง ชาวจีนจะมีการทำอาหารซึ่งเชื่อว่ามีความมงคลมาเป็นส่วนประกอบในพิธีต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “บะจ่าง” อาหารอันมีที่มาจากตำนานความรักชาติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามคติจีน  ตำนานความรักชาติ ที่มาของการไหว้บะจ่าง เทศกาลไหว้บะจ่าง หรือ ตวงโหงวโจ่ย จัดขึ้นในช่วงวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เทศกาลนี้มีที่มาจากตำนาน “กวีผู้รักชาติ” ชีหยวน กวีรักชาติผู้ซื่อสัตย์ในยุคสมัยของเลียดก๊ก มีข้าราชการผู้หนึ่งนามว่า “ชีหยวน” เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการแต่งบทกวีและการบริหารบ้านเมือง ชีหยวนคอยเป็นที่ปรึกษางานราชกิจการบ้านการเมืองให้แก่กษัตริย์ นอกจากความรู้ที่มีแล้วชีหยวนยังเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และยึดมั่นในคุณธรรมทำให้เขาได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์เป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความริษยาต่อตัวของเขาในหมู่ขุนนางจึงทำให้ชีหยวนนั้นถูกกลั่นแกล้งในการทำงาน และความเชื่อใจของเขาที่กษัตริย์มีให้ก็ได้ถูกลดทอนลง เมื่อมีศัตรูเข้ามาบุกยึดเมืองทำให้กษัตริย์ไม่เชื่อคำพูดว่าของชีหยวนว่าห้ามทำศึก ไม่อย่างนั้นจะต้องเสียเมืองไป แต่กษัตริย์กลับไม่เชื่อคำพูดของชีหยวน สุดท้ายก็แพ้การศึกและเสียเมืองให้ศัตรู ตามหาศพ ต้นกำเนิดบะจ่างชีหยวนได้แต่งกวีบทหนึ่งพรรณาถึงความเศร้าโศกเสียใจที่บ้านเมืองตกไปเป็นของศัตรูเอาไว้ ก่อนจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ด้วยความผิดหวังในวันที่ 5 เดือน 5 เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องเข้าต่างก็รู้สึกอาลัยในตัวชีหยวนเป็นอย่างมาก จึงได้มีการพายเรือตามหาศพของชีหยวน เพื่อกู้ศพขึ้นมาประกอบพิธีศพให้ถูกต้องแต่ด้วยความที่ในน้ำบริเวณนั้นมีปลาและสัตว์น้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงกลัวว่าปลารวมถึงสัตว์น้ำเหล่านั้นอาจจะมาแทะกินศพของชีหยวนจนได้รับความเสียหาย จึงได้นำข้าวมาห่อด้วยใบไผ่แล้วโยนลงไปในน้ำเพื่อให้เป็นอาหารของสัตว์แทน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดเป็นเทศกาลการไหว้บะจ่าง อย่างที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้

เปิดที่มา “บะจ่าง” อาหารมงคลในตำนานที่ก่อเกิดเป็นเทศกาลสำคัญในปัจจุบัน Read More »

น่ำเอี๊ยงแนะนำวิธีการขอพรพระยูไล รับความเป็นสิริมงคลตลอดปี

วันที่ 8 เดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันรำลึกถึงพระยูไล หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามคติจีน พระยูไล พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของชาวจีน พระยูไลตามตำนานความเชื่อพระยูไล (如来) มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับบทประพันธ์ในวรรณคดีเรื่องไซอิ๋ว ซึ่งพระองค์ได้รับหน้าที่มาปราบ ซุนหงอคง หรือ เห้งเจีย ลิงหินผู้มีฤทิธิ์มาก ที่เกิดความทะนงตนไปท้าท้ายพระยูไลเข้า ด้วยการพนันขันต่อว่าตนนั้นสามารถกระโดดข้ามฝ่ามือของพระยูไลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งฝ่ามือนั้นคือภูเขาทั้ง5ลูก แต่เมื่อหงอคงเริ่มกระโดดกลับไม่สามารถกระโดดข้ามพ้นภูเขาทั้ง5ลูกได้เลย กระทั่งถูกพระยูไลสยบลงในที่สุดด้วย ด้วยการกักขังหงอคงเอาไว้ใต้ภูเขา ที่เรียกกันว่า “ภูเขาอู่จื่อซาน”(五指山) ส่วนในปัจจุบันนี้ภูเขาอู่จื่อซานหรือภูเขา5ยอด ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวและมรดกทางธรรมชาติอันสำคัญแห่งหนึ่งของชาวจีน และด้วยตำนานดังกล่าว ทำให้กลายเป็นที่มาของ “ฝ่ามือพระยูไล” อันเป็นประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์พระยูไล ประวัติพระยูไลพระยูไล (如来) หรือที่ภาษาจีนออกเสียงว่า หรูไหล เป็นคำเรียกลงท้ายพระพุทธเจ้าของชาวจีนเนื่องจากชาวจีนนับถือพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ จึงมีการสันนิษฐานกันว่าพระยูไลในที่นี้ อาจเป็นพระพุทธเจ้า 3 องค์นี้ ได้แก่1. ศายมุนีพุทธเจ้า (釈迦如来)2. พระอมิตาพุทธเจ้า (阿弥陀如来)3. พระไภษัชยครุพุทธเจ้า (薬師如来)เพราะจะเห็นได้ว่าทุกพระองค์ล้วนมีพระนามยูไลต่อท้ายเสมอและพระยูไลที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย มักจะอยู่ในรูปลักษณะที่ประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์ดอกบัว มือซ้ายยกขึ้นประทานพร พระพักตร์เปี่ยมไปด้วยความเมตตา มีประกายรัศมีสว่างไสวโชติช่วงดั่งแสงของดวงอาทิตย์ บนอกมีเครื่องหมายสวัสติกะ อันเป็นเครื่องหมายของทางพระพุทธศาสนาฝ่ายนิกายมหายานปรากฏอยู่ด้วย ของไหว้ขอพรพระยูไล​ส่วนของไหว้ที่ควรนำไปถวายเพื่อขอพรพระยูไลนั้น ก็มีดังนี้​1.

น่ำเอี๊ยงแนะนำวิธีการขอพรพระยูไล รับความเป็นสิริมงคลตลอดปี Read More »

เทศกาลตังโจ่ย (冬節) ของชาวจีนทางเหนือและชาวจีนทางใต้แตกต่างกันอย่างไร?

เทศกาลตังโจ่ย ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากทั้งสำหรับชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน เรียกได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้ช่วงเวลาตรุษจีนเลยทีเดียว เมื่อถึงเทศกาลนี้ ชาวจีนในแต่ละท้องถิ่นจะมีการเฉลิมฉลองที่แตกต่างกันออกไป สำหรับชาวไทยที่ศึกษาวัฒนธรรมจีนอาจจะคุ้นเคยกับการรับประทานขนมบัวลอย  ในช่วงเทศกาลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมที่เราคุ้นเคยกันนั้นเป็นของชาวจีนทางใต้ เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง จีนแคะ ส่วนชาวจีนทางเหนือกลับไม่ได้ทานขนมบัวลอยในเทศกาลดังกล่าว 冬至 “ตังจี่” ไม่ใช่ชื่อเทศกาล เชื่อว่าหลายท่านอาจเคยเห็นคำว่า 冬至快樂 (สุขสันต์เทศกาลตังโจ่ย) กันมาบ้างแล้ว และอาจเข้าใจว่า 冬至 “ตังจี่” นั้นเป็นชื่อเทศกาล แท้จริงแล้วคำว่า 冬至 “ตังจี่” หมายถึงสารทลำดับที่ 22 จากทั้งหมด 24 สารทฤดู โดยวันแรกของสารทนี้มักตรงกับวันเหมายัน (Winter Solstice) ซึ่งเป็นวันที่ช่วงเวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี หรือกล่าวในอีกมุมหนึ่งได้ว่าเป็นช่วงที่มีพลังงานหยินมากที่สุด และนับจากวันนี้เป็นต้นไปพลังงานหยางก็จะเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันครีษมายัน (Summer Solstice) หรือในภาษาจีนคือ 夏至 “แฮจี่” ส่วนเทศกาลไหว้ขนมบัวลอยนั้น หากต้องการเรียกให้ถูกต้องจริง ๆ จะต้องเรียกว่า 冬節 (อ่านว่า ตังโจ่ย) แปลว่าเทศกาลฤดูหนาว หรือเทศกาลไหว้ขนมบัวลอยนั่นเอง

เทศกาลตังโจ่ย (冬節) ของชาวจีนทางเหนือและชาวจีนทางใต้แตกต่างกันอย่างไร? Read More »

ทำไมนับถือเจ้าแม่กวนอิมจึงห้ามรับประทานเนื้อวัว?

ประเด็นที่ว่าเมื่อนับถือเจ้าแม่กวนอิมแล้วห้ามรับประทานเนื้อวัวนั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เขื่อว่าผู้อ่านหลายท่านที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมและไม่รับประทานเนื้อวัวน่าจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ขนาดคนจีนยังกินเนื้อวัวเลย” อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ประเทศจีนนั้นมีกระแสเรื่องการไม่รับประทานเนื้อวัวโดยทั้งไม่เกี่ยวและเกี่ยวข้องกับเจ้าแม่กวนอิม แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด หลักฐานการกินและไม่กินเนื้อวัวผ่านเอกสารโบราณและสำนวนจีน การไม่รับประทานเนื้อวัวของชาวจีนโดยไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องเจ้าแม่กวนอิมนั้น มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (西周) โดยมีการสั่งห้ามฆ่าวัว เพราะเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อการทำนาและการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของแคว้น (และเป็นเช่นนี้มาหลายยุคสมัย) หรืออาจกล่าวในอีกมุมหนึ่งได้ว่าเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่สามารถสืบค้นเจอในยุคสมัยดังกล่าว ซึ่งก็คือ “คัมภีร์หลี่จี้” (禮記) ซึ่งเป็นเอกสารที่ว่าด้วยธรรมเนียมและจารีต โดยเขียนไว้ว่า “諸侯無故不殺牛” แปลว่า “เจ้าเมืองจะไม่ฆ่าวัวโดยไม่มีเหตุผล” (ขนาดเจ้าเมืองยังไม่ฆ่าวัว แน่นอนว่าประชาชนทั่วไปย่อมไม่มีทางฆ่าวัวเช่นกัน) อย่างไรก็ตาม ในยุคชุนชิว มีเจ้าครองแคว้นนามว่า เว่ยฮุ่ยหวัง (梁惠王) ได้เชิญผาวติง (庖丁) ซึ่งชำนาญในการแล่เนื้อวัวมากมาแสดงการแล่เนื้อวัวให้ชมในงานเลี้ยง ซึ่งผาวติงนั้นทำให้เว่ยฮุ่ยหวังนั้นทั้งชื่นชมในความสามารถ จึงทำให้เกิดสำนวนว่า 庖丁解牛 (ผาวติงเจี่ยหนิว) ซึ่งใช้เปรียบเทียบผู้ที่ทำงานอย่างช่ำชองรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันก็กลายเป็นหลักฐานว่าชาวจีนในสมัยก่อนนั้นก็รับประทานเนื้อวัวมาเป็นเวลานานแล้วเช่นกัน อิทธิพลของเจ้าแม่กวนอิมที่มีต่อการรับประทานเนื้อวัว หากกล่าวถึงการไม่รับประทานเนื้อวัวเพราะนับถือเจ้าแม่กวนอิมนั้น หนึ่งในตำนานที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ ตำนานองค์หญิงเมี่ยวซ่าน (妙善公主) ผู้ฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา (ต่อมาได้บรรลุธรรมเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม)  แต่ฮ่องเต้ผู้เป็นพระบิดาต้องการให้องค์หญิงเมี่ยวซ่านแต่งงาน ทว่านางกลับไม่สนใจในเรื่องของทางโลกและมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ฮ่องเต้จึงพิโรธและกลั่นแกล้งนางสารพัดเพื่อขัดขวางไม่ให้นางสามารถปฏิบัติธรรมได้ ถึงขั้นสั่งเผาวัดสังหารนักบวชและองค์หญิงเมี่ยวซ่าน แต่ไม่ว่าวิธีใดก็ไม่สามารถขัดขวางนางได้ ต่อมาฮ่องเต้ทรงพระประชวร องค์หญิงเมี่ยวซานซึ่งในตอนนั้นได้บวชชีแล้ว จึงปลอมตัวเข้าไปรักษาบิดาตนเองโดยใช้แขนและขาของตนเองทำเป็นยารักษา ทำให้ฮ่องเต้ยอมเปิดใจ

ทำไมนับถือเจ้าแม่กวนอิมจึงห้ามรับประทานเนื้อวัว? Read More »

ทำไมเทศกาลกินเจถึงสามารถรับประทานหอยนางรมได้?

หากกล่าวถึงเทศกาลถือศีลกินเจ การกินหอยนางรมได้หรือไม่นั้นถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาโดยตลอด ในขณะที่บางกลุ่มมองว่าสามารถรับประทานได้เนื่องด้วยตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาอย่างองค์หญิงเมี่ยวซ่านและตำนานพระถัมซังจั๋ง ในขณะที่บางกลุ่มมองว่าอย่างไรเสียหอยนางรมก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง หากถือศีลกินเจนั้นก็ไม่สามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ดี ในบทความนี้น่ำเอี๊ยงขอพาทุกคนสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานหอยนางรมในฐานะอาหารเจ ทั้งนี้เพื่อคลายข้อสงสัยและช่วยให้ผู้ที่ถือศีลกินเจสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานหอยนางรมในฐานะอาหารเจ ความเชื่อที่ 1: องค์หญิงเมี่ยวซ่าน (妙善公主) ความเชื่อที่หนึ่งมาจากเรื่องราวขององค์หญิงเมี่ยวซ่าน ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ในสมัยที่ยังเป็นพระราชธิดาองค์เล็กของพระเจ้าเมี่ยวจวง (妙庄王) และพระนางเซี่ยวหลิน เมื่อยังเยาว์วัย องค์หญิงเมี่ยวซ่านมีคสามสนใจในการศึกษาพระธรรม ยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา และมีความตั้งใจที่จะช่วยสรรพสัตว์บนโลกไปนี้ให้พ้นทุกข์ ทว่าตอนนั้นพระเจ้าเมี่ยวจวงต้องการให้องค์หญิงเมี่ยวซ่านออกเรือน แต่นางกลับไม่สนใจความประสงค์ของพระบิดา จึงหนีออกจากวัง พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงกริ้วเป็นอย่างมาก จึงพยายามขัดขวางทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้องค์หญิงเมี่ยวซ่านบรรลุความต้องการของตน จนถึงขนาดที่เข่นฆ่าผู้คนที่นับถือพระพุทธศาสนา เมี่ยวซ่านจึงพาประชาชนผู้นับถือพุทธศาสนาหนีลงทะเล แต่ด้วยการเดินทางทะเลที่ยาวนานและเส้นทางที่ยาวไกล จึงทำให้เสบียงอาหารที่เตรียมไว้หมดลง ด้วยเหตุนี้อธิษฐานว่าหากเอาไม้พายจุ่มลงทะเลไปแล้วมีสิ่งใดติดขึ้นมา ก็จะกินสิ่งนั้นเป็นอาหาร ปรากฏว่ามีหอยนางรมติดขึ้นมา ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นความเชื่อว่าหอยนางรมสามารถรับประทานได้ ความเชื่อที่ 2: พระถัมซังจั๋ง (玄奘) อีกความเชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเชื่อถือกันคือเรื่องราวของพระถัมซังจั๋ง ซึ่งกำลังเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่ดินแดนชมพูทวีป ระหว่างทางไม่สามารถหาสิ่งใดฉันได้เลย จึงตั้งจิตอธิษฐานว่าหากมีสิ่งใดที่สามารถฉันได้โดยไม่ผิดบาป ขอให้ปรากฏขึ้นเป็นภักษาหารด้วยเถิด ทันใดนั้นก็มีหอยนางรมจำนวนมากโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าหอยนางรมเป็นอาหารเจ ผู้ที่รับประทานเจสามารถบริโภคได้ ข้อกังขาเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับหอยนางรมในฐานะอาหารเจ อย่างไรก็ดี ทั้งสองความเชื่อที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้เป็นเพียงแค่นิทานที่เล่าสืบกันมา ไม่มีหลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้ ความน่าเชื่อถือจึงมีไม่มากนัก และถึงแม้ว่าจะมีบางคนกล่าวว่าสามารถรับประทานหอยนางรมได้เพราะไม่มีทางเลือก แต่ท้ายที่สุดแล้วหอยนางรมก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง จึงทำให้คนส่วนใหญ่ยังคงหลีกเลี่ยงการรับประทานหอยนางรมเป็นอาหารเจ

ทำไมเทศกาลกินเจถึงสามารถรับประทานหอยนางรมได้? Read More »

ค้นหาคำตอบความเชื่อโลกหลังความตาย ฉบับจีน ไทย และฝรั่ง

“สถานีต่อไปสวรรค์ ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังนรกได้ อยู่ที่การกระทำของผู้โดยสารเอง” “Next station heaven, interchange with hell, depending upon what you are doing” ถึงแม้ว่าประโยคพร้อมแปลภาษาอังกฤษข้างต้นจะเป็นการล้อเลียนเสียงประกาศบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ก็ตั้งอยู่บนความเป็นจริงที่ว่ามนุษย์จะขึ้นสวรรค์หรือชดใช้กรรมอยู่ในนรก ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง ซึ่งนรกในแต่ละวัฒนธรรมก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และผู้โดยสารก็สามารถเลือกได้ผ่านการนับถือศาสนาต่าง ๆ อย่างไรก็ดี บทความนี้นอกจากจะพาผู้อ่านทำความรู้จักนรกในวัฒนธรรมที่ต่างกันแล้ว จุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือการชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ก็ล้วนแต่สอนให้มนุษย์รู้จักการเกรงกลัวต่อการทำความชั่วโดยหยิบยกมโนทัศน์เรื่องนรกมาเป็นเครื่องมือการสอนให้มนุษย์รู้จักทำความดี เพราะท้ายที่สุดแล้วมนุษย์โดยสัญชาติญาณแล้ว ความหวาดกลัวเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากที่สามารถทำให้มนุษย์คล้อยตามทำนองคลองธรรมได้ดียิ่งกว่าการบอกคุณประโยชน์ของสิ่งใด ๆ  10 ขุมนรกและยมบาลทั้ง 10 ของจีน  ชาวจีนมีความเชื่อว่า เขาไท่ซาน (泰山) เป็นจุดที่เชื่อมต่อระหว่างนรกและสวรรค์ อย่างไรก็ตามเดิมทีในวัฒนธรรมจีนโบราณนั้นยังไม่มีมโนทัศน์เรื่อง “นรก” มีเพียงแนวคิดเรื่องโลกหลังความตาย (幽冥) เท่านั้น แต่เมื่อพระพุทธศาสนาจากอินเดียเริ่มเข้าสู่ประเทศจีน จึงก่อให้เกิดแนวคิดเรื่องนรกขึ้นมาโดยมีพญายม (閻羅王) เป็นเจ้านรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป แนวคิดเรื่องนรกก็ได้หลอมรวมกับลัทธิเต๋า ขงจื่อและความเชื่อพื้นบ้านของจีน ทำให้จากที่มีพญายมเพียงองค์เดียว ก็ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 10 องค์และมีนรกเพิ่มขึ้นมาเป็น 10 ขุม ได้แก่ 

ค้นหาคำตอบความเชื่อโลกหลังความตาย ฉบับจีน ไทย และฝรั่ง Read More »

แนวคิดการมองโลกผ่านน้ำส้มสายชู (醋) ในลัทธิขงจื๊อ (儒家) ศาสนาพุทธ (佛家) และลัทธิเต๋า (道家)

“ชายสามคนกำลังยืนล้อมรอบถังน้ำส้มสายชูใบใหญ่ใบหนึ่ง ทั้งสามคนต่างก็ได้ลองลิ้มรสของน้ำส้มสายชู ทว่าทั้งสามคนต่างก็มีสีหน้าที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความหมายของชายสามคนในภาพนั้นก็ได้กลายเป็นศาสดาของแต่ละลัทธิอันได้แก่ ขงจื๊อ (孔子) พระพุทธเจ้า (釋迦摩尼) และเล่าจื๊อ (老子) โดยที่ขงจื๊อคิดว่าน้ำส้มสายชูมีรสเปรี้ยว พระพุทธเจ้าคิดว่ามีรสขม ส่วนเล่าจื๊อกลับมองว่ามีรสหวาน” ข้อความข้างต้นนี้เป็นคำบรรยายที่มีต่อภาพที่ชื่อว่า “นักชิมน้ำส้มสายชู” (The Vinegar Tasters, 三酸圖) ซึ่งเป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านแนวคิดปรัชญาของจีน กล่าวคือการที่ศาสดาทั้งสามลิ้มรสน้ำส้มสายชูในถังใบเดียวกันแล้วได้รสชาติที่ต่างกัน แท้จริงแล้วภาพปริศนาธรรมนี้ ต้องการจะชี้ให้เห็นถึงการมองชีวิตและโลกที่ต่างกันผ่านปลายลิ้นของศาสดาทั้งสาม รสชาติแห่งชีวิต ขงจื๊อมองว่าชีวิตนั้นมีรสชาติออกเปรี้ยว กล่าวคือ โลกของเรานั้นไม่สมบูรณ์ ไม่มีความประสานกลมเกลียวกันระหว่างยุคสมัยอดีตกับปัจจุบัน การปกครองบนโลกมนุษย์นั้นก็ไม่สอดรับกับวิถีแห่งสวรรค์ จำเป็นต้องสร้างกฏเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้วิถีของโลกนั้นสอดคล้องต้องตรงกันกับสวรรค์ซึ่งในที่นี้ก็คือหลักธรรมคำสอนของลัทธิขงจื๊อ โดยมีกษัตริย์ซึ่งถือเป็นโอรสสวรรค์นั้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ ด้วยเหตุนี้ ลัทธิขงจื๊อจึงมีคำสอนและข้อปฏิบัติอันเคร่งครัดมากมาย ทั้งในแง่ของการปกครองบ้านเมืองด้วยคุณธรรม ประเพณีปฏิบัติต่าง ๆ และธรรมเนียมภายในราชสำนัก พระพุทธเจ้าเห็นว่าชีวิตบนโลกนั้นมีรสขม กล่าวคือ โลกของเรา การเกิดมาบนโลก และสรรพสัตว์บนโลกนั้นช่างขมขื่น อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความยึดติดและกิเลสตัณหา ซึ่งนำไปสู่ความทุกข์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้าในการทำให้สัตว์โลกทั้งปวงนั้นพ้นจากทุกข์ด้วยหลักความจริงอันประเสริฐหรือ “อริยสัจ” และมุ่งสู่จุดสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนาซึ่งก็คือ “นิพพาน”  ในขณะที่ขงจื๊อทำหน้าตาบูดบึ้ง พระพุทธเจ้าทำสีหน้าขมขื่น เล่าจื๊อกลับมีสีหน้าที่ยิ้มแย้ม และรู้สึกว่าน้ำส้มสายชูถังนี้นั้นมีรสชาติหวาน ที่เป็นเช่นนี้เพราะท่านมองว่าแท้จริงแล้ว โดยธรรมชาติโลกและสวรรค์นั้นมีความสอดคล้องกลมเกลียวกันอยู่แล้วตั้งแต่แรก มนุษย์นั้นสามารถพบเจอได้ทุกชั่วขณะจิต

แนวคิดการมองโลกผ่านน้ำส้มสายชู (醋) ในลัทธิขงจื๊อ (儒家) ศาสนาพุทธ (佛家) และลัทธิเต๋า (道家) Read More »

ตรวจสอบดวงชะตากวนอูผ่านปีนักษัตร สมพงศ์และชงกับใครบ้างในสมัยสามก๊ก?

เชื่อว่าผู้อ่านสามก๊กหลายท่านน่าจะรู้จักตัวละครสำคัญอย่างกวนอู (關羽) เล่าปี่ (劉備) เตียวหุย (張飛) และโจโฉ (曹操) และพอจะเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวละครเหล่านั้นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี หากกล่าวถึงความสัมพันธ์ในด้านของความสมพงศ์และการชง ข้อมูลที่จำเป็นที่สุดในการวิเคราะห์ก็คือ “ปีเกิด” ซึ่งสามารถบ่งบอกปีนักษัตรได้ และเมื่อเราได้ปีนักษัตรแล้ว ก็สามารถนำมาเทียบกับหลักความสัมพันธ์ทางโหราศาสตร์จีนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หลักฮะ (六合) หลักชง (六冲) ซาฮะ (三合) หรือหลักไห่ (六害) ได้ อนึ่ง หากกล่าวถึงสามก๊กนั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าฉบับที่คนส่วนใหญ่ได้อ่านกัน ไม่ว่าจะเป็นฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับวณิพก หรือฉบับยาขอบ ล้วนแปลจาก “นวนิยายสามก๊ก” (三國演義) ซึ่งแต่งโดยหลอกว้านจง (羅貫中) ในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวคือมีการเสริมเติมแต่งอยู่ไม่น้อย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์นั้นจะศึกษาความเป็นไปของยุคสมัยสามก๊กผ่าน “จดหมายเหตุสามก๊ก” (三國志) หรือ “จือจื้อทงเจี้ยน” (資治通鑑)  ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์นิพนธ์จีนโดย ซือหม่ากวง (司馬光) อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอใช้ปีเกิดตามนวนิยายสามก๊ก เนื่องจากตรวจสอบดวงชะตากวนอูผ่านปาจื้อนั้น ไม่ได้มีเจตนาเพื่อหาข้อสรุปทางประวัติศาสตร์ เพียงต้องการนำหลักของปาจื้อเข้ามาตรวจสอบและเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องสามก๊กเท่านั้น

ตรวจสอบดวงชะตากวนอูผ่านปีนักษัตร สมพงศ์และชงกับใครบ้างในสมัยสามก๊ก? Read More »

24 สารทฤดู (二十四節氣) และอาหารการกินของคนจีน

คนจีนถือเป็นชนชาติหนึ่งที่ให้ความสำคัญและใส่ใจกับการกินอาหารตามฤดูกาลเป็นอย่างมาก หลายท่านที่ศึกษาวัฒนธรรมจีนมาอาจทราบกันดีว่าชาวจีนโบราณนั้นแบ่งฤดูกาลออกเป็นทั้งหมด 24 ฤดู ซึ่งนอกจากอาหารตามฤดูกาลมักจะหาทานได้ง่ายในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ แล้ว ยังช่วยในการบำรุงร่างกายของเราให้แข็งแรงและทำให้พลังหยินหยางภายในร่างกายสมดุลอีกด้วย สรุป 24 ฤดูกาลของจีนผ่านบทเพลงท่องจำเด็กประถมจีน 春雨驚春清穀天,夏滿芒夏暑相連 秋處露秋寒霜降,冬雪雪冬小大寒 每月两节不变更,最多相差一两天 上半年来六廿一,下半年来八廿三 บทเพลงที่เขียนขึ้นไว้ข้างต้นนี้มีชื่อว่า《傳統廿四節氣歌》แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “เพลง 24 สารทดั้งเดิมของจีน” สำหรับความหมายของเพลงนั้น สามารถสรุปความหมายในแต่ละวรรคได้ดังต่อไปนี้ 春雨驚春清穀天 ชุน-อวี่-จิง-ชุน-ชิง-กู่-เทียน หมายถึง 6 สารทในฤดูใบไม้ผลิได้แก่ ลี่ชุน (立春) อวี๋สุ่ย (雨水) จิงเจ๋อ (驚蟄) ชุนเฟิน (春分) ชิงหมิง (清明) และกู๋อวี่ (穀雨)  夏滿芒夏暑相連 เซี่ย-หม่าน-หมาง-เซี่ย-สู่-เซียง-เหลียน หมายถึง 6 สารทในฤดูร้อนได้แก่ ลี่เซี่ย (立夏) เสียวหม่าน (小滿) หมางจ้ง (芒種) เซี่ยจื้อ (夏至) เสียวสู่ (小暑) และต้าสู่ (大暑) 

24 สารทฤดู (二十四節氣) และอาหารการกินของคนจีน Read More »

ตำนานสุรา สงหวง (雄黃酒) สุราป้องกันเบจญพิษในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

 “人生得意須盡歡,莫使金樽空對月”——李白《將進酒》 “ชีวิตคนยามสุขก็สุขให้เต็มที่ อย่าให้จอกทองว่างเปล่าภายใต้แสงจันทร์”—— เชิญร่ำสุรา, หลี่ป๋าย วรรคหนึ่งจากบทกวีชื่อ《將進酒》ซึ่งเขียนโดยหลี่ป๋ายนั้นได้แสดงให้เห็นว่า เหล้าและงานเลี้ยงถือเป็นของคู่กันที่ไม่อาจขาดจากกันได้ ในยามที่มีการเลี้ยงฉลอง นอกจากงานเลี้ยงแล้ว เหล้านั้นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับงานมงคลมากมาย จนมีคำพูดที่ว่า “無酒不成席” หมายถึง “ไม่มีเหล้า ไม่นับว่าเป็นงานเลี้ยง” อย่างไรก็ตาม ในเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่างซึ่งอาจไม่ได้มีการจัดงานรื่นเริง ก็มีเหล้าเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีเช่นเดียวกัน ซึ่งเหล้าชนิดนี้เรียกว่าเหล้าสงหวง (雄黃酒)  เหล้าสงหวง (雄黃酒) และที่มาของการดื่มเหล้าสงหวงในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เหล้าสงหวงคือเหล้าประเภทหนึ่งซึ่งทำจาก “สงหวง” (雄黃) ซึ่งเป็นแร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วยกำมะถันและสารหนู คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า “หรดาลแดง” ในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ชาวบ้านจะดื่มเหล้าสงหวง และนำเหล้ามาเขียนบนหน้าผากเด็กเป็นรูปตัวอักษร 王 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพญาเสือโคร่ง โดยเชื่อว่าสามารถไล่ผีและเสนียดจัญไรได้ นอกจากนี้เนื่องจากช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างอยู่ในช่วงฤดูร้อนและมีอากาศร้อนชื้น ซึ่งเป็นช่วงที่สัตว์มีพิษทั้ง 5 ชนิดเจริญพันธ์ุเร็ว อันได้แก่ งู คางคก ตะขาบ แมงมุม และจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน ชาวจีนจะใช้เหล้าสงหวงในการไล่สัตว์มีพิษเหล่านี้ออกไป ดั่งคำกล่าวที่ว่า “飲了雄黃酒,病魔都遠走” แปลว่า “ดื่มเหล้าสงหวง โรคภัยมารร้ายไม่กล้ำกราย” อย่างไรก็ตาม การดื่มเหล้าสงหวงนั้นจะดื่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหากดื่มมากเกินไปสารพิษในเหล้าจะออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาทและระบบย่อยอาหารแทน ส่วนที่มาที่ไปของการนำเหล้าสงหวงมาใช้ในการขับไล่สัตว์มีพิษนั้น

ตำนานสุรา สงหวง (雄黃酒) สุราป้องกันเบจญพิษในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง Read More »

Scroll to Top